กรมสุขภาพจิต เร่งพัฒนา”สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา” ชูความเป็นผู้นำด้านจิตเวชในเอเชีย

อากาศตรีนายแพทย์บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิตกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และคณะ ตรวจเยี่ยมสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา เขตคลองสาน กทม. เพื่อติดตามผลการดำเนินงานจัดบริการบำบัดรักษาผู้ป่วยจิตเวชและผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตประจำปีงบประมาณ 2560




จากการตรวจเยียมสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา ซึ่งเป็นโรงพยาบาลเฉพาะทางจิตเวชแห่งแรกที่เก่าแก่ที่สุดของกรมสุขภาพจิต เปิดบริการมาแล้ว 128 ปี ดูแลในเขตพื้นที่กทม.ทั้งหมด

ปัจจุบันมีเตียงรับผู้ป่วย 500 เตียง มีผู้ปวยนอกเฉลี่ยวันละ 500 คน ผลงานในรอบ10เดือนปีนี้ มีความก้าวหน้ามาก มีผู้ป่วยนอกใช้บริการ 125,119 คน ยอดเพื่มขึ้นจากรอบ 2 ปีที่ผ่านมาร้อยละ31 โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่มาจากเขตกทม. LG ฉลอง 70 ปีพบโปรโมชั่นสุดพิเศษที่ 70 ปีมีครั้งหนึ่ง


ในส่วนของผู้ป่วยใน ซึ่งได้เป็นศูนย์รับส่งต่อผู้ป่วยจิตเวชที่มีอาการรุนแรง ในเขตสุขภาพที่ 6 ซึ่งมี 5 จังหวัด ได้แก่ สมุทรปราการ ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ในรอบ10 เดือน มีผู้ป่วยประเภทนี้อยู่ในความมาดูแลทั้งหมด 4,158 คน ในจำนวนนี้เป็นผู้ป่วยจิตเวชรุนแรง ยุ่งยากซับซ้อนจำนวนมากกว่า 700 คน

ผู้ป่วยที่พบมากอันดับ1 ได้แก่ผู้ป่วยจิตเวชที่มีการใช้เหล้าและสารเสพติดร่วมด้วย ร้อยละ 65 โดยสารเสพติดที่ใช้มากที่สุดได้แก่ แอมเฟตามีนหรือยาบ้า และกัญชา รองลงมาคือโรคจิตเภท( Schizophrenia) นอกจากนั้นยังมีการให้บริการผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรงในสังคม เช่น ผู้ป่วยคดี ได้มีการบำบัดรักษาและติดตามผู้ป่วยทุกราย พบว่าไม่มีการกลับไปก่อเหตุซ้ำในชุมชนแต่อย่างใด

“กรมสุขภาพจิตมีนโยบายจะพัฒนาให้สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา เป็นสถาบันที่มีความเป็นเลิศทางวิชาการด้านประสาทจิตเวชศาสตร์ในระดับอเซีย มีความทันสมัยเพื่อรองรับการพัฒนาประเทศไทยสู่ยุค 4.0 ซึ่งขณะนี้มีความพร้อมทั้งด้านบริการวิชาการ โดยเฉพาะด้านการฝึกอบรมและเป็นศูนย์ฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านสาขาจิตเวซศาตร์และวิชาชีพอื่นๆ”

รวมทั้งเป็นที่ศึกษาดูงานทั้งไทยและต่างประเทศ เพื่อเป็นศูนย์เชี่ยวชาญด้านจิตเวชและประสาทจิตเวชศาสตร์ เช่น โรคอัลไซเมอร์ โรคลมชัก โรคนอนไม่หลับ โรคซึมเศร้า โรคจิต ภาวะเครียดและวิตกกังวล โรคจิตและโรคจิตเวชที่เกิดจากการใช้สุราและสารเสพติดซึ่งขณะนี้พบปัญหามากขึ้น โดยจะตั้งงบประมาณลงทุนด้านเครื่องมือแพทย์ที่ทันสมัยในปี 2562 สำหรับการตรวจวินิจฉัยคลื่นไฟฟ้าสมองและระบบประสาท เครื่องตรวจวินิจฉัยความผิดปกติในการนอนหลับ( Sleep Lab) เครื่องกระตุ้นสมองด้วยแม่เหล็กไฟฟ้าเพื่อรักษาโรคซึมเศร้า และการส่งบุคลากรไปอบรมดูงานต่างประเทศ รวมทั้งการลงทุนด้านโครงสร้างอื่นๆ

ทางด้านนายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน ผู้อำนวยการสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา กล่าวว่า จากการประเมินสถานการณ์ในอนาคตอันใกล้ ปัญหาทางจิตเวชและประสาทจิตเวชศาตร์จะมีความต้องการบริการมากขึ้น ต้องเร่งพัฒนาระบบบริการให้ทันสมัย สอดคล้องกับสภาพสังคม

ขณะนี้สถาบันฯได้พัฒนาระบบการฟื้นฟูผู้ป่วยจิตเวชและประสาทจิตเวชศาสตร์ พร้อมจัดโปรแกรมบำบัดรักษาฟื้นฟูผู้ป่วยทั้งรายกลุ่ม รายบุคคลให้สามารถใช้ชีวิตอยู่ในชุมชนได้ตรงตามต้องการหรือศักยภาพผู้ป่วยให้มากที่สุดหลังผ่านการบำบัดรักษา

และ ได้เร่งขยายความร่วมมือกับสถานพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชน ในพื้นที่กทม.และเขตสุขภาพที่6 เพื่อให้เป็นเครือข่ายในการจัดบริการดูแลผู้ป่วยจิตเวชอย่างต่อเนื่องครบวงจร เนื่องจากกทม.เป็นพื้นที่ใหญ่มีประชากรประมาณ 10 ล้านคน ซึ่งจะทำให้คุณภาพบริการดียิ่งขึ้น

สำหรับในด้านการพัฒนาวิชาการ ขณะนี้สถาบันฯได้ทำวิจัยทางด้านจิตเวชศาสตร์และประสาทจิตเวชศาสตร์โดยร่วมมือกับศูนย์วิจัยประสาทวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

เช่น การศึกษารูปแบบคลื่นไฟฟ้าสมองและความคิดเชิงบริหารในผู้ป่วยติดยาเสพติดประเภทแอมเฟตามินที่มีอาการและไม่มีอาการทางจิตร่วมดัวย การศึกษาเรื่องการตรวจคลื่นไฟฟ้าสมองในขณะพักและในขณะที่ทำแบบทดสอบด้านการรู้คิด การประเมินด้านความก้าวร้าวและพฤติกรรมรุนแรง การพัฒนาและเผยแพร่ชุดเครื่องมือการประเมินการทำงานของสมองส่วนหน้าสุดโดยตรง สำหรับใช้ในผู้ป่วยโรคจิตเภท