SACICT ก้าวสู่ปีที่ 15 มุ่งนำหัตถศิลป์ไทยสู่ความร่วมสมัย



SACICT หรือ ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) จัดงานวันคล้ายวันสถาปนา ฯ ครบ 14 ปี พร้อมแจงทิศทางและนโยบายในการก้าวเข้าสู่ปีที่ 15 โดยจัดนิทรรศการและผลงานของศูนย์ฯ "Enhancing Navigator to Today Life's Crafts" นำหัตถศิลป์ไทยสู่ความร่วมสมัย พร้อมทั้งจัดให้มีพิธีลงนามความร่วมมือระหว่าง SACICT กับ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรวิหาร วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม และการปาฐกถาพิเศษ เรื่อง "ตามรอยเบื้องพระยุคลบาท" โดย นายสุวัฒน์ เทพอารักษ์ อดีตเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ทั้งนี้มี นางอัมพวัน พิชาลัย ผอ. ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) เป็นประธานเปิดงาน ณ อาคารศาลาพระมิ่งมงคล ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมีครูช่าง ทายาทครูช่างจากจังหวัดต่างๆ และแขกร่วมงานคับคั่ง 

ทั้งนี้ผู้บริหารยังคงเน้นย้ำถึงมุ่งสร้างความเชื่อมั่น เชื่อมโยงเครือข่าย หน่วยงานพันธมิตร และช่างหัตถศิลป์ เพื่อต่อยอดและผลักดันให้งานหัตถศิลป์ไทยให้เป็นที่รู้จัก ในฐานะการเป็นผู้สร้างพลังและชี้นำทิศทางของการพัฒนางานหัตถกรรม (Enhancing Navigator) ผ่านการพัฒนาและสร้างความแข็งแกร่งให้กับงานหัตถกรรม (Empowering Thai Crafts)


นางอัมพวัน พิชาลัย ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ กล่าวว่า วันนี้เป็นโอกาสดีที่ SACICT ครบรอบปีที่ 14 ในวันนี้ (1 พฤศจิกายน 2560) ที่ผ่านมา SACICT มีการดำเนินงานอนุรักษ์ ส่งเสริม พัฒนาต่อยอดและสืบสานงานศิลปหัตถกรรมไทย รวมทั้งส่งเสริมด้านการตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อตอบสนองต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงภายใต้บริบทวัฒนธรรมร่วมสมัยและวัฒนธรรมสร้างสรรค์ข้ามแดนมาอย่างต่อเนื่อง ใน 5 มิติ 

ได้แก่ การเป็นศูนย์รวมองค์ความรู้และอนุรักษ์สืบสานศิลปหัตถกรรมไทย (SACICT Knowledge) การส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมเพื่อการต่อยอดเชิงพาณิชย์ (SACICT Concept) การพัฒนาผู้ประกอบการและเชื่อมโยงกับหน่วยงานและเครือข่ายพันธมิตรทั้งในและต่างประเทศ (SACICT Smart Craft) การส่งเสริมกิจกรรรมการตลาดทั้งในและต่างประเทศ (SACICT Craft Market) การพัฒนาองค์กร ศ.ศ.ป. เพื่อเพิ่มศักยภาพและประสิทธิภาพในการดำเนินงาน เพื่อเป็นการยกระดับองค์กรและทำงานเชิงรุกมากขึ้น (SACICT Innovation) 

ตลอดปี 2560 SACICT เน้นภารกิจสำคัญภายใต้กลยุทธ์ “หัตถศิลป์ของชีวิตปัจจุบัน : Today Life’s Crafts” เพื่อเป็นการผลักดันให้งานศิลปหัตถกรรมไทยที่มีความร่วมสมัยเข้าสู่วิถีชีวิตปัจจุบันของทุกคนได้ SACICT มุ่งหวังให้งานศิลปหัตถกรรมไทย เข้าไปมีเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินชีวิตของเราทุกคนได้อย่างกลมกลืน สร้างความคุ้นเคย ความน่าจดจำให้งานหัตถศิลป์ไทย และยังเป็นแรงบันดาลใจในการร่วมต่อยอดให้งานหัตถศิลป์ รวมถึงการส่งเสริมและสนับสนุนงานศิลปหัตถกรรมไทยต่อไป

เช่น การฟื้นฟูมรดกศิลป์ภูมิปัญญาที่ถูกลืม: Revival of Forgotten Heritage” เพื่ออนุรักษ์ ฟื้นฟู สืบสานและพัฒนางานหัตถศิลป์และผ้าพื้นถิ่นที่กำลังจะสูญหายให้อยู่คู่คนไทยจากรุ่นสู่รุ่น การเพิ่มคุณค่าและพัฒนาผลิตภัณฑ์สู่ความเป็นสากลร่วมกับนักออกแบบและชุมชนหัตถศิลป์ การพัฒนามาตรฐานและคุณภาพผู้ผลิตงานหัตถศิลป์ร่วมกับสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ  การพัฒนาทักษะและขยายช่องทางการตลาด  การพัฒนาระบบฐานข้อมูลสมาชิกเพื่อนำมาพัฒนาสมาชิกตามระดับศักยภาพ  

   

   

การสร้างเครือข่ายพันธมิตรงานศิลปหัตถกรรมไทยตลอดห่วงโซ่คุณค่าทั้งภายในและต่างประเทศ การแลกเปลี่ยนถ่ายทอดองค์ความรู้และประสบการณ์ระหว่างครูศิลป์ของแผ่นดิน ครูช่างศิลปหัตถกรรม และทายาทช่างศิลปหัตถกรรม เพื่อเปิดโลกทัศน์และต่อยอดองค์ความรู้ และการเพิ่มศักยภาพบุคลากรและพัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงาน โดยจัดทำระบบคุณภาพที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน (ISO 2001 : 2015)

   

สำหรับการดำเนินงานในปี 2561 นั้น SACICT มุ่งสร้างความเชื่อมั่นและเชื่อมโยงกลุ่มเครือข่าย หน่วยงานพันธมิตร และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในงานหัตถศิลป์ เพื่อต่อยอดและผลักดันให้งานหัตถศิลป์ไทยได้รับความนิยมในวงกว้าง รวมถึงสร้างการรับรู้ในบทบาทของ SACICT ในฐานะการเป็นผู้สร้างพลังและชี้นำทิศทางของการพัฒนางานหัตถกรรมในทุกมิติ หรือ Enhancing Navigator ที่สามารถสะท้อนผ่านการพัฒนาเพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับงานหัตถกรรม (Empowering Thai Crafts) ภายใต้กรอบการดำเนินงาน 3 ด้านหลัก ได้แก่ การพัฒนาคนและการรวบรวมองค์ความรู้  (Smart Craft) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีนวัตกรรมร่วมสมัย (Craft Studio) 

และการพัฒนาด้านการตลาดทั้งในภายในและต่างประเทศรวมถึงการตลาดออนไลน์ (Craft Society) โดยการพัฒนางานทั้ง 3 ด้านนี้ มีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือ การสร้างการรับรู้ใหม่ในงานศิลปหัตถกรรมไทยให้กับกลุ่มเป้าหมายและประชาชนทั่วไปให้มองงานหัตถศิลป์เป็นงานทันสมัยที่เหมาะกับชีวิตปัจจุบัน หรือ Today Life’s Crafts 

ในด้านการรวบรวมองค์ความรู้  ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมสำคัญในปี 2561 SACICT เล็งเห็นว่า “วัด” คือศูนย์กลางองค์ความรู้ในงานศิลปหัตถกรรมหลากหลายแขนงที่มาตั้งแต่ในอดีตกาล หัตถกรรมบางประเภทอาจสูญหายไปแล้ว หรือกำลังจะสูญหาย งานหัตถกรรมเหล่านี้นอกเหนือจากที่จะศึกษา และหาชมได้จากพิพิธภัณฑ์แล้ว  

ยังมีศูนย์รวมที่เป็นสถานที่สั่งสมงานหัตถกรรมที่ล้ำค่านั่นก็คือ “วัด” นั่นเอง SACICT จึงได้ถือโอกาสเนื่องในวันครบรอบวันสถาปนาในวันนี้ จัดกิจกรรมลงนามความร่วมมือกับ พระอารามหลวงที่สำคัญใน 3 แห่ง ได้แก่ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร หรือวัดโพธิ์  วัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร และวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม ซึ่งจะมีกิจกรรมลงนามขึ้นในลำดับต่อไป 

ในปี 2562  SACICT มุ่งพัฒนาเป็นสถาบันระดับประเทศที่เต็มเปี่ยมไปด้วยองค์ความรู้และเป็นศูนย์กลางด้านงานหัตถศิลป์ไทยทั้งแบบดั้งเดิมและร่วมสมัย สำหรับผู้ที่สนใจในงานหัตถศิลป์กลุ่มสมาชิกและผู้ประกอบการ เพื่อให้ SACICT เป็นหน่วยงานแรกที่กลุ่มเป้าหมายและประชาชนทั่วไปนึกถึงเกี่ยวกับงานศิลปหัตถกรรมไทยในทุกๆ ด้าน

   

และในอีก 2 ปีข้างหน้า SACICT มุ่งหวังจะเป็นหน่วยงานที่เป็นศูนย์กลางด้านงานหัตถศิลป์ในประเทศและภูมิภาค เป็นที่ยอมรับในระดับสากล เพราะSACICT เชื่อว่าคุณค่า และความงดงามของศิลปหัตถกรรมไทย สามารถประยุกต์ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตได้เสมอ เพราะมีทั้งความคิดสร้างสรรค์ ภูมิปัญญาอันทรงคุณค่า ที่สามารถเพิ่มคุณค่าและมูลค่าให้กับงานศิลปหัตถกรรมไทย

ผู้สนใจสามารถค้นหาข้อมูลงานศิลปหัตถกรรมไทยผ่านช่องทางของ SACICT ที่ได้ที่ www.sacict.or.th , www.facebook.com/sacict , IG : sacict_official , Twitter : sacict , Line : sacict club หรือสอบถามข้อมูลโทรสายด่วน 1289