นิทรรศการพิเศษ “วังหน้านฤมิต ในมิติแห่งกาลเวลา” โดย คุณสิริกิติยา เจนเซน

คุณสิริกิติยา เจนเซน ผู้อำนวยการโครงการการศึกษาสันนิษฐานรูปแบบพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) และสื่อความหมายด้วยเทคโนโลยี แถลงข่าวการจัดนิทรรศการพิเศษ เรื่อง “วังหน้านฤมิต ในมิติแห่งกาลเวลา” (In Situ from the Outside: Reconfiguring the Past in Between the Present)  ณ ศาลาสำราญมุขมาตย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร โดยนำเสนอผลงานศิลปะที่สร้างขึ้นใหม่และคัดสรรเฉพาะ รวมถึงผลงานของผู้เชี่ยวชาญหลากหลายสาขาที่ได้รับแรงบันดาลใจจากประวัติศาสตร์วังหน้า 
 
คุณสิริกิติยา เจนเซน ผอ.โครงการฯ กล่าวถึงการจัดนิทรรศการในครั้งนี้ว่า “ นิทรรศการพิเศษ “วังหน้านฤมิต ในมิติแห่งกาลเวลา” จัดขึ้นเพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี สถาปัตยกรรมและศิลปกรรมของพระราชวังบวรสถานมงคล ผ่านการตีความและสื่อความหมายด้วยรูปแบบงานศิลปกรรมร่วมสมัย จากมิติและมุมมองที่หลากหลาย เพื่อให้เข้าใจง่ายและชัดเจนยิ่งขึ้น เป็นการนำผู้คนในยุคปัจจุบันให้เข้ามามีส่วนร่วมกับมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ อยากให้คนไทยได้เห็นว่าสามารถที่จะร่วมงานได้ เพราะสิ่งที่เห็นตรงหน้าที่เป็นประวัติศาสตร์ไม่ใช่สิ่งที่ไกลตัวเรา ทุกคนมีสิทธิที่จะปกป้องประวัติศาสตร์และประเทศไทยทั้งหมด เป็นสิ่งที่เราต้องผลักดัน ถ้าไม่อยากให้ประวัติศาสตร์ตายไป ต้องมีการเคลื่อนไหวโดยคน ถ้าไม่มีคนเข้าไปในสถานที่นั้น ๆ และสร้างสรรค์ขึ้นมาประวัติศาสตร์จะอยู่นิ่ง อยากให้คนเข้ามาชมสถานที่แห่งนี้ และชมวิธีการนำเสนอ ถ้าคนเข้ามาดูแล้วไม่เข้าใจกลับออกไปแล้วเข้ามาอีก ไม่จำเป็นต้องเข้าใจประวัติศาสตร์ในวันนี้ แต่อยากให้เข้ามาและเริ่มคิดว่า มันมีอะไรที่น่าสนใจในห้องนี้ ดูว่าสงสัยอะไร ทุกสิ่งเกี่ยวข้องกับตัวคน ประวัติศาสตร์เป็นเรื่องร่วมสมัย คนต้องทำให้อยู่ต่อ” 
  
ผอ.โครงการฯ กล่าวต่อว่า “คอนเซ็ปต์หลัก ของการจัดนิทรรศการครั้งนี้ ซึ่งชื่อว่า นัยระนาบนอก อินซิทู : แปลงร่างอดีตในหลีบแห่งปัจจุบัน ซึ่งเป็นการต่อยอดมา โครงการนี้จะมี 3 ภาค ภาค 1 คือ”นิทรรศการวังน่านิมิต  ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร จัดเมื่อวันที่ 10 – 27 มิถุนายน 2561 ถือเป็นนิทรรศการเชิงรุกนอกพื้นที่วังหน้า โดยใช้เทคโนโลยี่เป็นเครื่องมือนำเสนอ ประกอบกับการนำเสนอข้อมูล เนื้อหา และข้อสันนิษฐานทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับพระราชวังบวรสถานมงคล เป็นบทความทั้งสิ้น 11 ตอน เผยแพร่ในสื่ออนไลน์ จัดทำโดย The Standard ภาคที่ 2 ภาค “เวปไซต์” ในรูปแบบของนิทรรศการและคลังข้อมูลออนไลน์ เป็นการนำข้อมูลอ้างอิงทั้งหมดที่คณะทำงานใช้สืบคันมาเผยแพร่ในรูปแบบคลังข้อมูลเปิด เพื่อสาธารณชนเข้าถึงได้ ภาคที่ 3 ภาค”วังหน้านฤมิตในมิติแห่งกาลเวลา” ครั้งนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 9 มีนาคมถึง 28 เมษายน 2562 ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัยและมุขกระสัน พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พระนคร ภาคสุดท้ายนี้ประกอบด้วยนิทรรศการ “นัยระนาบนอก อินซิทู : แปลงร่างอดีตในหลืบแห่งปัจจุบัน” นิทรรศการที่เชิญศิลปิน 7 ท่าน มาร่วมสร้างบทสนทนากับพระที่นั่งอิศราวินิจฉัยผ่านงานศิลปะร่วมสมัย 

 และขยายขอบเขตการจัดแสดง โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญหลายด้าน ทั้งอักษรศาสตร์ นักดนตรี นักผังเมือง สถาปนิก นักพฤกษศาสตร์ นักออกแบบ นักประวัติศาสตร์ศิลปะ มาร่วมนำเสนอผลงานแสดงมุมมองและแรงบันดาลใจที่มีต่อประวัติศาสตร์ ประกอบกับการนำสิ่งของจัดแสดงบางส่วนจาก “นิทรรศการวังน่านิมิต”กลับมานำเสนออีกครั้ง  
  
 คุณสิริกิติยา กล่าวต่อว่า “ เป็นความพยายามของเราที่เมื่อคนมาถึงประตูแล้ว จะดึงเขาเข้าไปอย่างไร เมื่อเข้าไปข้างในแล้ว เขาเลือกที่ทำอย่างไร เป็นการสร้างสรรค์ พยายามทำขึ้นเป็นแพลตฟอร์ม ให้คนที่เข้าไปในโบราณสถาน สามารถเลือกสิ่งที่สนใจ และเล่าและอยากเชื่อมโยงตัวเขากับอดีต ให้เชื่อมโยงกัน อย่างสถานที่แห่งนี้เคยมีชีวิต อยากให้กลับมามีชีวิตอีกครั้ง จึงทำงานที่มีการเคลื่อนไหว เหมือนศิลปินที่เข้ามาร่วมแสดงงาน มีการขับร้องเพลง 
   
ด้านการคัดสรรศิลปิน คัดสรรจากงานตามคอนเซ็ปต์ทุกคน เพราะโบราณสถานแห่งนี้ถือเป็นสถานที่หลักของงาน จึงคิดว่าจะทำอย่างไรให้ที่นี่โดดเด่นขึ้นมา หนึ่ง เราสนใจเรื่องของเวลาในห้องนี้ มีหลายยุค มีวิญญาณอยู่ในสถานที่แห่งนี้ เราจะสังเกตและเลือกที่จะเล่าให้ทุกคนฟังว่า ไม่ใช่เป็นอดีตหรืออนาคต แต่มันอยู่พร้อมกัน เป็นสิ่งที่ศิลปินในกลุ่มนี้เล่าเรื่องออกมา สอง เราสนใจเรื่องการขยายมุมมองของคน พิพิธภัณฑ์ทั้งหมด ทำอย่างไรคนจะเข้าไปอยู่ในนั้น โดยจะมีความเบาของงานของทุกคนในห้องนี้ ศิลปินทุกคนจะทำอย่างเชื่อมโยงกันในทุกชิ้นงาน เพราะเราผ่านการทำงานอย่างใกล้ชิดกัน อยู่ร่วมกัน 3-5 เดือน จนออกมาเป็นเรื่องราวใหม่ที่ไปด้วยกัน แม้การนำเสนอจะไม่เหมือนกัน แต่เรื่องราวต่าง ๆ เชื่อมโยงกัน ทุกอย่างในห้องนี้ จะไม่อยู่นิ่ง จะมีการปรับ มีการเปลี่ยน มีการเคลื่อนไหวตลอดตามเวลา เพราะประวัติศาสตร์เคลื่อนไหว มุมมองของคนที่ทำงานอนุรักษ์ บางทีที่มันขาดไปในงานอนุรักษ์ คือเราขาดคน เราบูรณะทั้งหมด แต่ลืมไปว่า ผู้ที่สร้างขึ้นมาคือใคร วิญญาณที่อยู่ในหลังนี้คือใคร คืออะไร ถ้าเราไม่เข้าใจตรงนี้ไว้จะแค่เป็นโบราณสถานเท่านั้น 
  
 คุณใหม่ - สิริกิติยา กล่าวถึงความยากในการทำงานโครงการนี้ว่า เรารู้สึกว่า ผ่านทุกอย่าง ไม่ใช่แค่ทำงาน เมืองไทย อยู่อเมริกามาตลอด เป็นคนที่ไม่ถนัดภาษาไทย แต่เป็นคนตรงไปตรงมาในเมืองไทยก็ต้องมีวิธีพูดที่นุ่มนวลมากขึ้น ที่ยากอีกส่วนหนึ่งคือ งานนี้คนเยอะมาก เพราะต้องการให้มีมุมมองหลากหลายและที่ยากที่สุดคือ มุมมองของแต่ละคนไม่เหมือนกัน แต่สิ่งที่เราคิดว่าถูกสำหรับเรา ไม่จำเป็นต้องเหมือนทุกคน บางทีเราต้องฟังและทำความเข้าใจ เราจะเจอกันตรงกลางตรงไหนและจะคุยกันอย่างไร ซึ่งถือเป็นการทำงานที่ต้องเรียนรู้ การชวนคนเข้ามาในนี้ ไม่ยาก แต่ที่สำคัญคือต้องทำให้พิพิธภัณฑ์มีชีวิต ต้องเริ่มนำคนเข้ามา เริ่มจัดกิจกรรม บางทีก็ต้องทำโครงสร้างของพิพิธภัณฑ์ให้หลวมขึ้น เพื่อให้คนเข้าใจมากขึ้น” 
   
 ศิลปินที่เข้าร่วมจัดนิทรรศการ ได้แก่ ธณัฐชัย บรรดาศักดิ์ สร้างภาพยนตร์ 16 มม.  ออน คาวารา ผลงาน One Million Years ของออน คาวารา ถูกคัดเลือกมาเฉพาะงานนี้ ประกอบด้วยหนังสือ 2 เล่ม เล่มแรก Past – For all those who have lived and died เขียนอุทิศแด่ ผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่และล่วงลับไปแล้ว และ เล่มที่สอง Future – For the last one อุดมศักดิ์ กฤษณมิษ ลักษณะทางสถาปัตยกรรมและพื้นที่ภายในของพระที่นั่งอิศราวินิจฉัย นิพันธ์ โอฬารนิเวศน์ จัดแสดงศิลปวัตถุที่พ่วงมิติทางประวัติศาสตร์ เช่น ลูกแก้วปรอท หนึ่งในวัตถุสะสมของพิพิธภัณฑ์ ลูกแก้วจำลองนี้ เชื่อว่ามีไว้เพื่อประดับห้องรับประทานอาหารสำหรัรบพ่อบ้าน คอยชำเลืองมองดูแขกที่กำลังรับประทานอาหาร เพื่อจะได้ทราบความต้องการ ศิลปินหยิบยกลักษณะของลูกแก้วปรอทที่สามารถสะท้อนสิ่งรอบตัว มาจัดวางสร้างสนทนากับห่วงโลหะทั้ง 2 วง ที่สลักเนื้อเพลงลาวแพน ภาษาไทยและภาษาลาวบอกเล่าถึงชีวิตชาวลาวในสมัยรัชกาลที่ 3 ปรัชญา พิณทอง สร้างงานในรูปแบบของปฏิบัติการทางศิลปะ ผ่านต้นร่างและวิถีปฏิบัติ โดยศิลปินจะระบุกลุ่มคำหรือ Key word ให้กับตัวแทนที่จะถ่ายทอดกลุ่มคำเหล่านั้นต่อผู้ที่กำลังเข้าชมพิพิธภัณฑ์ ฤกษ์ฤทธิ์ ตีระวนิช พัฒนาแอปพลิเคชั่นที่รวมสภาพแวดล้อมจริงกับวัตถุเสมือนเข้าด้วยกัน โดยออกแบบให้โต้ตอบกับผู้ช้านผ่าน “ลับแล”(วัตถุสะสมของพิพิธภัณฑ์ จำนวน 2 บาน ในอดีต “ลับแล”นี้ทำหนาที่สองประการด้วยกันคือ ใช้ขับไล่วิญญาณร้าย และใช้เป็นฉากกั้นเขตส่วนพระองค์ เมื่อแอปพลิเคชั่นนี้ถูกใช้ร่วมกับลับแล ภาพตัวละครที่ถูกสร้างจะปรากฎขึ้นรำพึงรำพันสะท้อนเรื่องราวการสำรวจและค้นหาตัวตน 
 
หยัง โว นำเสนอผลงานที่ชื่อว่า 2.2.1861 เป็นผลงานบนกระดาษชิ้นต่อเนื่องที่ศิลปินขอให้พ่อของเขา ซึ่งมีฝีมือในการเขีนคัดลอกตัวอักษรช่วยคัดลอกข้อความภาษาฝรั่งเศสจากจดหมาย ลาที่นักบุญ Jean – The’ophane Ve’nard มิชชั่นนารีชาวฝรั่งเศสในเวียดนาม ส่งถึงพ่อของตนใน ค.ศ. 1861 สะท้อนประวัติศาสตร์ของการมีอยู่และการดำรงตนในพื้นที่ต่าง ๆ เนื้อความในจดหมายที่ถูกถึงการสูญเสียและการลาจาก ถูกบรยายเปรียบเปรยไว้ด้วยภาษาและเรื่องเล่าที่ดงงามขนานไปกับความเชื่อและศรัทธา สะท้อนประวติศาสตร์ของการมีอยู่และความเป็นไปในเงื่อนไขของพื้นที่อื่น ๆ 
   
 นิทรรศการพิเศษ “วังหน้านฤมิต ในมิติแห่งกาลเวลา” (In Situ from the Outside: Reconfiguring the Past in Between the Present)  เปิดให้ประชาชนเข้าชม ระหว่างวันที่ ๖ มีนาคม – ๒๘ เมษายน ๒๕๖๒   เวลา ๐๙.๐๐ น. – ๑๖.๐๐ น. (ปิดวันจันทร์ - อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์) ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย และมุขกระสัน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร