พนมมือแรง! เปิดกรุสุดยอด 4 ของขลังคู่ความเชื่อชาวไทย ที่วิทยาศาสตร์ยังพิสูจน์ไม่ได้ ในนิทรรศการ “ไทยทำ…ทำทำไม”

“โหร – ขิก – กวัก – เสียกบาล” สี่ของขลังคู่คนไทย สุดยอดสิ่งประดิษฐ์บรรเทาทุกข์ ในนิทรรศการ “ไทยทำ...ทำทำไม”
 “อย่าออกจากบ้าน ถ้าจิ้งจกร้องทัก” ประโยคคุ้นหูที่เราได้ยินกันมาตั้งแต่เด็ก เป็นความเชื่อที่คนรุ่นใหม่อาจนึกขัน แต่ความเชื่อที่ดูจะคร่ำครึงมงาย และห่างไกลจากหลักการทางวิทยาศาสตร์เช่นนี้ ได้กลายเป็นความเชื่อที่ฝังรากลงในสังคมไทยและมีอิทธิพลต่อแนว ทางการดำเนินชีวิตของคนไทยในปัจจุบันอย่างมาก ไม่นับเรื่องเล่าปากต่อปาก ตำนานลี้ลับปรัมปรา 

ซึ่งถูกเล่าขานต่อกันมาจากบรรพบุรุษรุ่นสู่รุ่น ไปจนกระทั่งถึงเครื่องรางของขลั งต่างๆ มากมายที่เรามีไว้บูชา แม้ว่าในปัจจุบัน วิทยาศาสตร์จะพิสูจน์ได้แล้วว่า ความเชื่อเหล่านี้เป็นเพียงแค่เรื่องงมงายไร้สาระ แต่เราก็ไม่เคยคิดที่จะปฏิเสธสิ่งเหล่านี้ เพราะจริงๆ แล้ว ความเชื่อและวัตถุมงคลเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่คนไทยคิดขึ้นมาเพื่อจัดการกับความกลัวและขจัดความทุกข์ที่เกิดขึ้นนั่นเอง พูดง่ายๆ ก็คือเป็นเสมือนตัวช่วยด้านจิตใจในยามที่ชีวิตต้องมรสุม






“มิวเซียมสยาม” ชวนทุกคนมาร่วมพิสูจน์เครื่องรา งของขลังคู่คนไทย 4 ชิ้น จากงานนิทรรศการ “ไทยทำ...ทำทำไม” จะใช่หรือมั่ว ชัวร์หรือไม่! มีอะไรบ้างนั้น มาดูกัน
 

1) ตำราพรหมชาติ : ปัญญาโบราณ จุดหางเสือนำชีวิต
 ใครใครก็ชอบดูหมอ โหราศาสตร์ดูจะเป็นเรื่องลี้ลับที่ไม่อาจอธิบายได้ด้วยหลักการท างวิทยาศาสตร์ ตำราโหราศาสตร์ของไทย เราเหมารวมเรียกว่า ตำรา “พรหมชาติ” การดูพรหมชาติ เป็นวิธีการทำนายชะตาราศีบนพื้น ฐานของปีเกิด เดือนเกิด และวันเกิด เป็นรูปแบบการพยากรณ์แบบหนึ่งใน โหราศาสตร์ไทย ซึ่งมีความเชื่อดั้งเดิมมาจากกลุ่มไท-ลาว ผสมผสานกับความรู้ทางโหราศาสตร์ ที่ได้รับจากอินเดียและจีน เมื่อมีการพิมพ์เกิดขึ้นในสมัยรั ชกาลที่ 4 จึงได้มีการรวบรวมความรู้การพยากรณ์แบบอื่นๆ เข้าไว้ในชุดเดียวกัน แล้วให้ชื่อว่า “ตำราพรหมชาติ”
 

ตำราพรหมชาติถูกพิมพ์อีกหลายครั้งและแพร่หลายไปยังหลายภูมิภาค มีการรวบรวมศาสตร์จากตำราพื้นบ้าน ไปจนถึงตำราหลวงรวมไว้อยู่ในเล่ มเดียวกัน จนในภายหลัง คำว่า “พรหมชาติ” กลายเป็นคำรวมของตำราดูหมอไทย แทนที่จะเป็นการทำนายตามวิธีการใดเพียงวีธีการเดียว สำหรับคนในสมัยก่อนๆ การดูพรหมชาติ เปรียบเสมือนกับหางเสือที่ช่วยชี้นำเส้นทางการดำเนินชีวิต ทั้งในวันที่ดี และในวันที่ชีวิตสับสน และยังเป็นหลักยึดและช่วยปกป้อง ภัยอันตรายต่างๆ ที่กำลังจะเข้ามากล้ำกลายอีกด้ว ย
 

2) ปลัดขิก : กะเจี๊ยวโตเต็มวัย เอาไว้หลอกผี
 เรียก ขุนเพชร คงไม่มีใครรู้จัก แต่ถ้าเป็น “ปลัดขิก” ก็คงร้องอ๋อ ขุนเพชร หรือ ปลักขิก ทำขึ้นจากไม้หรือโลหะ มีลักษณะเหมือนองคชาต จำลองย่อส่วน โดยปราศจากหนังหุ้มปลาย แต่เดิมนิยมให้เด็กอายุ 3 – 4 ขวบขึ้นไป แขวนไว้ที่บริเวณเอว ให้ห้อยลงมาอยู่ในระดับองคชาต เนื่องจากเด็กในช่วงวัยนี้ เพิ่งจะหย่านม จึงมีภูมิคุ้มกันน้อย โอกาสที่จะป่วยไข้มีมาก ตามความเชื่อโบราณเชื่อว่า ภูตผีจะมาทำให้เด็กเจ็บป่วยไม่สบาย จึงต้องหลอกผีให้เข้าใจผิดไปว่า เด็กชายนั้นไม่ใช่เด็กแต่โตเต็มวัยสมชายชาตรี โดยมีองคชาตที่ปลายเปิดไม่มีหนังหุ้ม ภูตผีจึงไม่สามารถนำเด็กคนนั้นไปยังโลกแห่งความตายได้
 
ปลัดขิก หากจะให้มีความขลังยิ่งขึ้น ก็มักจะต้องผ่านการปลุกเสกอีกด้วยตามตำราโบราณ ยิ่งไปกว่านั้น ยังเชื่อว่าปลัดขิกเป็นของที่ใช้ สำหรับเบี่ยงความสนใจของเด็กไม่ให้เล่นอวัยวะเพศของตนเอง เพราะโดยปกติแล้ว เด็กในวัยนี้มักจะเล่นอวัยวะเพศของตนเอง ซึ่งไม่ต่างอะไรกับนิสัยติดดูดนิ้ว ติดขวดนม คนโบราณจึงทำปลักขิกขึ้นมา เพื่อเป็นการแก้ไขไม่ให้เด็กติด นิสัยเล่นอวัยวะเพศของตัวเองด้วย
 

3) นางกวัก : เทพีบูชา งานลาภงานมงคล
 หลายคนอาจจะเคยเห็น แมวกวัก เครื่องรางสไตล์ญี่ปุ่น ไทยเองก็มี แต่อยู่ในรูปหญิงสาว เรียกกันติดปากว่า “นางกวัก” แต่งกายด้วยชุดไทยสีแดงพร้อมเค รื่องประดับนั่งในท่าคุกเข่าแบบเทพธิดา ส่วนมือทำท่ายกขึ้นกวัก ตามความเชื่อเชื่อว่า นางกวักเป็นเทพีแห่งความเป็นมงคลและโชคลาภ เจ้าของธุรกิจห้างร้านจึงนิยมบูชาติดร้านกันไว้ตั้งแต่โบราณ แม้กระทั่งในปัจจุบัน ยังมีการออกแบบโดยลดทอนรูปลักษณ์ ของรูปปั้นนางกวักให้โมเดิร์นเข้ากับยุคสมัยมากยิ่งขึ้น โดยยังคงคอนเซ็ปต์สำหรับใช้เพื่องานลาภงานมงคลเช่นเดิม
 

4) ตุ๊กตาเสียกบาล : ตุ๊กตาดินเซ่น ตัวแทนบาปเคราะห์
 

กบาล เป็นภาษาเขมรหมายถึง หัวตุ๊กตา “เสียกบาล” ก็คือ ตุ๊กตา “เสียหัว” นั่นเอง เป็นหุ่นดินเผาที่ปั้นขึ้นใช้ในพิธีกรรมจากความเชื่อทางไสยศาสตร์ของผู้คนในอดีต เมื่อมีคนเจ็บป่วยใกล้ตาย คนไทยในอดีตจึงหาวิธี “หลอกผี” ไม่ให้มาเอาชีวิตผู้นั้น ด้วยการปั้นตุ๊กตาดินขนาดเล็กขึ้นแทนเจ้าตัว ซึ่งจะปั้นแค่ให้เห็นเพศ และรูปร่างลักษณะใกล้เคียงกับตัวคนที่จะแทน เพราะถือว่าปั้นให้ “ผี” จึงไม่ได้จำเป็นต้องออกมาประณีต สวยงามนัก แล้วจึงนำไปเสร็จพิธีเสียกบาล โดยการหักคอตุ๊กตา แล้วเอาไปทิ้งไว้ที่ทางสามแพร่ง หรือลอยน้ำไป เพราะเชื่อว่าที่เหล่านี้เป็นแหล่งชุมนุมทางวิญญาณ โดยเชื่อกันว่าตุ๊กตาได้รับเคราะห์แทนไปแล้ว คนที่ป่วยอยู่จึงไม่เป็นอะไร เสมือนเป็นการผ่องถ่ายสิ่งชั่วร้ายไปยังตุ๊กตา นับเป็นการจัดการความเจ็บป่วยโด ยอาศัยวัตถุ เพื่อสื่อสารและต่อรองกับสิ่งเหนือธรรมชาติ ในยุคที่วิทยาการด้านการแพทย์ยั งไม่อาจเยียวยาผู้ป่วยให้หายได้
 
 สิ่งประดิษฐ์ทางความเชื่อทั้งสี่นี้ สะท้อนความเชื่อแบบไทยไทย ที่ถึงแม้เราจะนับถือพุทธ แต่ความเชื่อเรื่องผี และสิ่งลี้ลับเหนือธรรมชาติ ก็ยังเป็นหลักยึดให้กับคนไทยในยามที่เราเกิดทุกข์ และต้องการสิ่งบรรเทาด้วยจิตใจ มิวเซียมสยาม เปิดโอกาสให้ทุกคนได้สัมผัสประสบการณ์ และศึกษาเพิ่มเติมได้แล้วในงานนิ ทรรศการ “ไทยทำ...ทำทำไม” ตั้งแต่วันนี้ ถึงวันที่ 27 สิงหาคม 2560 วันอังคาร – วันอาทิตย์ เวลา 10.00 – 18.00 น. ณ มิวเซียมสยาม ท่าเตียน (ข้างวัดโพธิ์) กรุงเทพฯ เข้าชมฟรี โดยไม่มีค่าใช้จ่าย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02-225-2777 ต่อ 543 หรือเข้าไปที่ www.museumsiam.org