“สตูล” อีกหนึ่งศักยภาพเมืองนำร่อง “เส้นทางสายกิน อาหารถิ่นในตำนาน”

ผอ.ปทิตตา ตันติเวชกุล 

ผอ.กองเผยแพร่ความรู้ด้านการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

".....โครงการนี้เป็นโครงการนำร่องที่กำหนดขึ้นมาเป็นเส้นทาง สายกิน อาหารถิ่นในตำนาน (Gastronomy) สามปีที่ผ่านมาที่ททท.มาโฟกัสเรื่องอาหาร จะเห็นว่าททท.มีการร้อยเรียงเรื่องของอเมซิ่งไทยเทสต์ เรื่องของที่เราได้สตรีทฟู้ด ท้อปเทนเรื่องอาหาร ต่อมาก็เป็นมิชลิน


เรามองว่ากลุ่มตลาดของนักท่องเที่ยวคนไทยที่จะทำให้เติบโตขึ้น จะทำอย่างไร จะเห็นว่าที่เคยทำอาหารถิ่นข้ามภาคที่ได้รับความสนใจอย่างต่อเนื่อง



ปีนี้จึงทำเรื่องเส้นทางสายกิน อาหารถิ่นตามตำนาน คิดว่าจะใกล้เคียงกับอาหารถิ่นข้ามภาคที่ทำมาแล้วประสบความสำเร็จ โครงการนี้ได้เลือกจากเมืองรอง จาก 55 เมืองรอง เลือกศักยภาพของเมืองที่น่าสนใจให้เป็นที่มาของอาหารถิ่น 10 จังหวัด ใน 5 ภาค ศักยภาพของจังหวัดสตูลนี้วันพักของนักท่องเที่ยวที่มาสตูลเพียง 2 วันครึ่ง แต่เราจะสามารถดำเนินการได้

แต่ตัวที่ส่วนกลางมองคือ พบว่าพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวที่เข้ามา จะมาหาดใหญ่ ปากบารา แล้วออกไปเที่ยวหลีเป๊ะ กับตะรูเตา ยังไม่ได้หยุดที่สตูล

ทีนี้อาหารถิ่นมีเสน่ห์ อย่างที่เราเดินทางไปกันมาในทริปนำร่องนี้ สตูลมีสายพันธ์ของอาหารที่โด่งดังอยู่แล้วคือเทศกาลโรตี ตอนนี้โรตีกินกันทั่ว แต่ถ้าเราอยากโฟกัสให้อาหารถิ่นมีความน่าสนใจและเป็นอาหารถิ่นที่ให้นักท่องเที่ยวมาลิ้มลอง พฤติกรรมการกิน กินเมื่อไหร่ กินอย่างไร กินเพื่อแสดงความเป็นตัวตน เป็นเทรนด์โลก

ก็มาตามหาแกงที่น่าสนใจ ก็มีข้าวมัน แกงตอแมะห์ ขนมบุหงาบูดะ และแกงปัจรี หย้าหรี่หรือแกงสับปะรด  แกงกรุหม่าหรือแกงมัสลา ปรุงเนื่องในวันสำคัญกับชนชาติมุสลิมที่มีทั่วไป จากการถือศีลอดแกงกรุหม่าหาทานได้ในกรุงเทพฯ ก็เห็นแต่ละครอบครัวจะมารวมกันมากินข้าว ขณะเดียวกันมาที่สตูลก็จะเห็นอารมณ์นี้เหมือนกัน เราจึงนำอาหารสี่อย่างนี้เป็นอาหารที่น่าค้นหาของจังหวัดสตูล







นายมูสา ยะโกะ รองผู้อำนวยการ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานหาดใหญ่ (สงขลา – สตูล ) กล่าวเสริมถึงจำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้ามาในจังหวัดสตูลว่า เฉลี่ยต่อปี ปี 60 จำนวนนักท่องเที่ยวขยับขึ้นประมาณ 1 ล้าน 4 แสนคน รายได้อยู่ที่ 8000 ล้านบาท ปี 59 อยู่ที่ประมาณ 1 ล้าน 2 แสนคน และรายได้อยู่ที่ 6000 นิดๆ ซึ่งปี 60 ก็ขยับขึ้นมา

ศักยภาพของจังหวัดสตูล เรามีศูนย์ฯ ไม่ว่าด้านของแหล่งท่องเที่ยวทางทะเล และทางบกมีชุมชนท่องเที่ยวมากกว่า 20 ชุมชนที่มีความพร้อม และ 10 กว่าชุมชนมีความพร้อมในการเชื่อมโยงระหว่างเส้นทางอาหารถิ่นที่ส่วนกลางทำโครงการและเลือกจังหวัดสตูลเป็นเส้นทางสายกิน อาหารถิ่นในตำนาน เส้นทางท่องเที่ยวเชื่อมโยงอาหารด้วย

อีกตัวหนึ่งที่สามารถประชาสัมพันธ์จังหวัดให้สตูลมีชื่อเสียงมากขึ้นคือ อุทยานธรณีสตูล เป็นมรดกโลก

ซึ่งในอนาคตจำนวนนักท่องเที่ยวและรายได้จะเพิ่มขึ้น เนื่องจากรัฐบาลมีการส่งเสริมการกระจายตัวเมืองหลักสู่เมืองรอง และสตูลก็เป็นหนึ่งในจังหวัดรอง อีกหนึ่งนโยบายคือ การลดหย่อนภาษี 15,000 บาท ตรงนี้ก็จะสามารถกระตุ้นให้นักท่องเที่ยวเข้ามาในจังหวัดเมืองรองเพิ่มขึ้น







รองผอ.ททท. สำนักงานหาดใหญ่ เผยด้วยว่า ปีที่ผ่านมา ส่วนใหญ่นักท่องเที่ยวที่เข้ามาในจังหวัดสตูล เป็นชาวไทย 70 % ต่างชาติ 30 % ต่างชาติจะมาจากมาเลเซียและสแกนดิเนเวีย โดยสแกนดิเนเวียเข้ามาทางลังกาวี หาดใหญ่ สนามบินที่ตรังด้วย

ในแง่ของรายได้ปีนี้ คาดหวังว่าอาจจะได้หมื่นล้าน แต่ต้องวิเคราะห์อีกที เราก็หวังว่าจะได้รายได้ขยับขึ้นมา เพราะจากตัวอุทยานธรณีโลก ซึ่งเกิดการเปลี่ยนแปลงมากหลายเท่า โดยเฉพาะในส่วนของชุมชนและหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวกับด้านการท่องเที่ยว ก็ต้องมาดูว่า เมื่อได้ความเป็นมรดกโลกมาแล้ว จะบริหารจัดการอย่างไร ต้องมีการพัฒนา วางแผนกัน เพื่อเตรียมการ

ตอนนี้แหล่งท่องเที่ยวที่เป็นไฮไลท์สุดของที่นี่สตูล มี 2 ส่วน คือ ถ้าเส้นทางท่องเที่ยวทางทะเล โดยเฉพาะหลีเป๊ะ ตะรูเตา

และตัวใหม่ที่เพิ่งดังขึ้นมาคือปราสาทหินพันยอด และเส้นทางทางบกเป็นชุมชนท่องเที่ยวต่างๆ ที่มีศักยภาพ เช่น บ้านควน บากันใหญ่ บากันเคย ที่มีความพร้อมที่จะขายเส้นทางท่องเที่ยว และตัวใหม่คือ อุทยานธรณีโลก จะเป็นแมกเนต



ทาง ททท.เองได้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะอุทยานธรณีสตูล ในอีกไม่กี่วันข้างหน้า จะมีการประชุมหารือกันในส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งหมดในด้านของการท่องเที่ยว เพื่อคุยกันในเรื่องของการหาแนวทางการทำเส้นทางท่องเที่ยว เพราะนักท่องเที่ยวบางคนหรือคนในพื้นที่บางคนยังไม่รู้ว่ามีจุดไหนบ้าง เพราะอุทยานธรณีโลกมีทั้งหมด 28 จุด และจะหารือเรื่องการจัดกิจกรรมกระตุ้นการท่องเที่ยว ตอนนี้เป็นช่วงการถือศีลอด แต่วันที่ 17 นี้จะเป็นการเปิดบ้านในวันฮารีรายอ วันออกบวช เดือนสิงหาคมก็จะมีกิจกรรมที่ร่วมกันอีกครั้ง เป็นกิจกรรมเรื่องอาหารถิ่น ในตำนาน อาหารอร่อย อาหารเด่น ก็จะมีการปรึกษาหารือกัน

“คนสตูลเองยังตื่นเต้นอยู่ SATUN GEOPARK  เพราะเพิ่งได้มาเมื่อ 17 เมษายนที่ผ่านมานี้เอง เป็นกระแสฟีเวอร์ของคนสตูลด้วย เราจึงอาศัยช่วงนี้ ในการประชาสัมพันธ์จังหวัดสตูลให้มากขึ้น”

 

ผอ.ปทิตตา ตันติเวชกุล กล่าวเพิ่มเติมว่า ส่วนปี 61 คาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวน่าจะขยับเพิ่มขึ้นมาราวๆ 8 % ตามนโยบายที่วางไว้น่าจะ 10 % และจะมีการประชุมแผนและวิเคราะห์กันใหม่อีกครั้ง

เพราะนักท่องเที่ยวต่างชาติ จะมีมาเลเซีย อินโดนีเซีย เป็นหลัก เมื่อปลายปีที่แล้วมาสำรวจเส้นทางเออีซี นักท่องเที่ยวมาเลเซียไหลเข้ามาทางท่าเรือและทางด่าน ซึ่งก็จะเข้ามาทั้งทางท่าเรือและทางบกด้วย  นักท่องเที่ยวมาเลเซียมาที่นี่เป็นหลัก แต่ไทยจะอยู่ที่หลีเป๊ะและตะรูเตา เมื่อเขาเข้ามาการรองรับ อาหาร ที่พัก ต้องมาดูว่าเป็นอย่างไร แต่ที่พบคือ ที่พักมีเกือบ 6000 ห้อง เพียงพอต่อการรองรับนักท่องเที่ยว ซึ่งตรงนี้เราก็จะไปวิเคราะห์จำนวนตัวเลขอีกครั้ง

และโครงการนี้จะช่วยสนับสนุนให้นักท่องเที่ยวชาวไทยเข้ามาเพิ่มเติม คือจากพฤติกรรมที่อยู่แค่ทะเล ก็มาเที่ยววิถีชีวิตในเมืองบ้าง ซึ่งเป็นวิถีชีวิตที่อบอุ่น เป็นกันเอง

จากการที่ททท.มาติดตามนำร่องเส้นทางสายกิน อาหารถิ่นในตำนาน พบว่า สตูลมีเรื่องราวที่น่าสนใจ มีชุมชนที่เข้มแข็งแรงอยู่ด้วยกันแบบครอบครัว อบอุ่น พูดจากใจจริงคือ สตูลจะแตกต่างจากสามจังหวัดชายแดนใต้ ถ้าเราได้มีโอกาสไป ไม่ว่าจะเป็น นราธิวาส ยะลา ปัตตานี ซึ่งรองผอ.เคยเข้าไปดูแลพื้นที่ตรงนั้นมาแล้ว

ในตัวของสตูลจะมีความสงบ ข้างในลึกๆ คือความเข้มแข็งที่แตกต่าง ซึ่งเหมือนกับเป็นกำแพงที่คนภายนอกเข้ามาได้ยาก สังเกตจากชุมชนที่ไปมา มีความสามัคคี มีความเข้มแข็งที่อยู่จากภายในของเขาเอง ซึ่งน่าจะเป็นแบบอย่างที่ดี ซึ่งนักท่องเที่ยวที่มาน่าจะซึมซับความสามัคคีนี้เข้าไปในตัวพวกเราด้วย และจะทำให้มีความเข้าใจเพื่อนชาวมุสลิมมากขึ้น

ผอ. ปทิตตา กล่าวด้วยว่า อาหารทั้งสี่อย่าง คิดว่าเป็นไฮไลท์ได้ ถ้าจะทานตอแมะต้องมาทานที่นี่ ตัวปาจารีมีทั่วไปแต่จะเป็นสับปะรด เป็นอาหารถิ่นที่เราจะต้องตามให้เจอ อาหารถิ่นที่เป็นสตูล จะไม่หายไปไหน ตอแมะก็หาตามชุมชนได้

อาหารจะเป็นตัดสินใจให้นักท่องเที่ยวเดินทางมา เราพยายามสร้างเสน่ห์ให้คนมาหาอาหารถิ่นให้ได้ วัตถุประสงค์ของโครงการก็คือ กินที่ไหน กินเมื่อไหร่ กินกับใคร แกงตอแมะ กินได้ทุกที่ แต่กินกับใครก็ต้องมากินกับพี่น้องชาวมุสลิม โดยจะชูเส้นทางสายกิน อาหารถิ่นในตำนาน ร้อยเรียงไป ซึ่งถ้ากล่าวถึงเรื่องอาหารพูดไม่จบ มีมากมาย ทั้งอาหารราชสำนัก และหลายๆแบบ แต่เราจะทำอาหารถิ่นเพื่อชูตรงนี้ เป็นภารกิจที่ส่วนกลางจะผูกรูธเส้นทางให้นักท่องเที่ยวได้มาเรียนรู้

ปัจจุบันนี้เทรนด์คือกินเพื่อจะแสดงตัวตน น้อยคนนักที่จะไม่ถ่ายรูปก่อนกิน เลยสร้างกระแส ซึ่งตรงนี้ททท.จะต้องนำภาพเหล่านี้ไปเผยแพร่ต่อไปและให้เกิดกระแสให้นักท่องเที่ยวมายังจังหวัดสตูลให้ได้ มากกว่าการเที่ยวทะเล เพราะเสน่ห์มีมากกว่านั้น

ส่วนที่เราไม่ชูเรื่องอาหารทะเลของสตูลเพราะเขาดังมานานแล้ว มาทะเลก็กินอาหารทะเล แต่อาหารถิ่นก็เป็นเสน่ห์อีกอย่างหนึ่งที่คนไทยในช่วง gen y เขาจะต้องมากิน และแชร์

ต่อข้อซักถามที่ว่า อาหารถิ่นที่สตูล ถ้าเป็นนักท่องเที่ยวมุสลิมจะรู้จักหมด แต่สำหรับนักท่องเที่ยวคนไทย จะยากหรือไม่ต่อการประชาสัมพันธ์ ผอ.ปทิตตา กล่าวด้วยว่า “สำหรับตัวเองคิดว่า ไม่ เพราะที่ผ่านมาก็จะตามกินกรุหม่าไปทั่ว สีลมก็มี ซึ่งก็คิดว่า คนไทยเริ่มที่จะสนใจหาอาหารแปลกๆทานออกไปและยอมรับมากขึ้น 

จริงๆ ต้องบอกว่า เส้นทางอาเซียนทั้งหมด พี่น้องชาวมุสลิมมีถึง 40% เราไม่ได้มองโอกาสด้านการตลาดแค่มาเลเซียหรืออินโดนีเซียซึ่งเข้ามาอยู่แล้ว แต่ถ้าเราทำให้เกิดการเดินทางในกลุ่มอาเซียนได้ สร้างฮาลาลให้แข็งแรงมากกว่านี้ 

ซึ่งสตูลแม้จะเป็นพื้นที่ที่มีพี่น้องชาวมุสลิมก็จริง แต่เพื่อตอกย้ำและสร้างเสน่ห์ให้กับตอแมะ ซึ่งเป็นอาหารมลายู ให้นักท่องเที่ยวได้มาสัมผัสว่า ตอแมะแต่ละท้องถิ่นรสชาติหรือหน้าตาก็จะเป็นอย่างไร  ตอแมะในมาเลเซียกับอินโดนีเซียจะเป็นอย่างไร ในกลุ่มอาเซียน จีน เขมร พม่า มีตอแมะเหมือนกันรสชาติจะเป็นอย่างไร เป็นอีกหนึ่งทางเลือกให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสกับประสบการณ์ในการลิ้มลองรสชาติอาหารที่แตกต่างกันออกไป

โครงการนี้ เริ่มต้นในการทำตลาดคนไทยให้รู้จักก่อน ให้เป็นกระแสการท่องเที่ยวเดินทางของคนไทยก่อน แต่ผลพลอยได้ที่มาคือ พอดีเส้นทางนี้เป็นเส้นทางท่องเที่ยวชายแดน ซึ่งก็จะมีนักท่องเที่ยวที่หลั่งไหลมาเออีซี นอกจากมาเลเซียและอินโดนีเซียแล้ว อาจจะมีจากประเทศอื่นเพิ่มขึ้น หากกระแสการชิมอาหารในกลุ่มคนไทยสามารถสร้างแรงกระตุ้นได้ มีการกล่าวต่อกันก็จะทำให้เกิดการบอกต่อกัน ซึ่งเหมือนเป็นผลพลอยได้จากการเป็นเมืองชายแดน

คนต่างประเทศจะมองเห็นหลีเป๊ะ แต่ตอนนี้ เราพยายามให้ชู ให้คนรู้จักว่า สตูลคือ อุทยานธรณีโลก



ที่ผ่านมาคนที่มาพักเฉลี่ยสองวันครึ่ง คาดหวังว่าที่ผ่านมานักท่องเที่ยวเฉลี่ยมาเที่ยวสตูลเพียงสองวันครึ่ง หลังจากนี้เมื่อมีการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวชุมชน ชิมอาหารถิ่น ให้นักท่องเที่ยวรับรู้ว่า มาเที่ยวทางใต้ ไม่ได้มีแค่ทะเล ยังมีเสน่ห์ของวิถีชุมชน ตรงนี้จะทำให้สามารถมาเที่ยวได้ครบ ทั้งทางทะเลและบนบก จะทำให้การเข้ามาพักเที่ยวในสตูลนานขึ้น จะสร้างรายได้ต่อหัวต่อทริปเพิ่มขึ้น เพราะที่นี่ราคาห้องพักไม่ได้แพง 

ในส่วนของข่าวเรื่อง อุทยานธรณีสตูล ยูเนสโกก็กระจายข่าวไปทั่วโลก ซึ่งจะเกิดกระแสของนักท่องเที่ยวต่างชาติให้เข้ามาเยือน ขณะเดียวกัน เราก็เน้นเรื่องวิถีชีวิต เรื่องของอาหาร สิ่งที่เราจะได้ล่าสุดคือ การทำเส้นทางนี้เข้าเสนอสู่การประชุมแผนการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ซึ่งจะมีเส้นทางนี้คือ 1 ใน 10 ของเส้นทางที่ทำขึ้นมา และจะส่งเส้นทางนี้ไปยังกลุ่มผู้อำนวยการททท.ที่มาประชุมจากทั่วโลก

ซึ่งคนในชุมชนพร้อมแล้ว ที่น่าสนใจคือ ที่นี่มีวิสาหกิจชุมชนในการติดต่อประสานงาน ไม่ได้เป็นบริษัททัวร์หรืออะไรที่มาจับจอง ซึ่งตรงนี้แข็งแรงมาก อยากให้เป็นโมเดลตัวอย่างด้วย ที่ผ่านมามีกลุ่มทุนธุรกิจจับจองเยอะมาก บางแห่งห้ามคนชาติอื่นเข้ารับบริการ มีเฉพาะคนของชาติเขาอย่างจีน เช่นที่เมืองพัทยาเริ่มมีแล้ว หาดใหญ่ก็เริ่มโดนแล้ว

แต่สำหรับที่สตูล ชุมชนเข้มแข็งมาก เขาไม่รับคนแปลกปลอมเข้ามาในกลุ่มของเขาหากจะเข้ามาท่องเที่ยวต้องติดต่อผ่านวิสาหกิจชุมชน เขาดูแลกันเอง เป็นตัวอย่างที่ดี ปัจจุบันจะมีพี่น้องมุสลิมที่จบมา ทั้งระดับดอกเตอร์ ปริญญาตรีและหลากหลายสาขาวิชาชีพที่เรียนจบจากกรุงเทพฯ บ้าง ต่างประเทศบ้านแต่กลับไปหาบ้านเกิด กลับไปพัฒนาบ้านเกิดของเขาเอง



(ติดตามรายละเอียดทริปการเดินทาง ในสกู๊ปพิเศษ)