ชุมชนร้อยปีริมน้ำเจ้าพระยา ทวงถามอัตลักษณ์วิถีที่กำลังจะถูกทำลาย
ชุมชนร้อยปีริมน้ำเจ้าพระยาจัดงานเทศกาล ริมน้ำบางกอก พร้อมจัดเวทีเสวนาในหัวข้อ“พัฒนาแม่น้ำเจ้าพระยาอย่างไรให้ เป็นธรรมและยั่งยืน”เพื่อให้ทุกฝ่ายได้เรียนรู้และรับทราบถึงประวัติศาสตร์ชุมชนที่มีมาอย่างยาวนานกว่า 200 ปี ชี้โครงการถนนบนแม่น้ำเจ้าพระยา ที่กำลังจะเกิดขึ้นของกทม.ทำลาย ชุมชน ปิดกั้นทางสัญจรของชาวบ้าน และก่อให้เกิดปัญหาตามมาอีกมากมาย ตัวแทนชาวบ้านระบุ ไม่ปฏิเสธการพัฒนาแต่ต้องอยู่บนความยั่งยืนเป็นธรรมและคงอัตลั กษณ์ของชุมชนไว้ พร้อมระบุกระบวนการรับฟังเสียงสะท้อนของชาวบ้านก่อนสร้างโครงการปิดกั้นการมีส่วนร่วม เรียกร้องยุติโครงการและจัดทำประชาพิจารณ์เพื่อฟังเสียงชุมชนให้รอบด้านและเปิดโอกาสให้ชุมชนที่ ได้รับผลกระทบได้ส่งเสียงและมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง เมื่อต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ที่อาคารพิพิธบางลำพู เครือข่ายประชาคมบางลำพูและภาคีเครือข่ายหลากหลายองค์กรได้ร่วมกันจัดงาน "เทศกาลริมน้ำบางกอก” เพื่อให้ประชาชนได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์ความเป็นมา และอัตลักษณ์ของชุมชนริมน้ำเจ้าพระยาที่มีมาอย่างนานร่วม 200 ปี ที่กำลังจะเลือนหายไปจากการเตรียมก่อสร้างโครงการถนนบนแม่น้ำเจ้าพระยาของกรุงเทพมหานครด้วย ซึ่งประเด็นนี้ได้ถูกนำมาขยายและต่อยอดในการจัดเวทีเสวนาในหัวข้อ “พัฒนาแม่น้ำเจ้าพระยาอย่างไรให้ เป็นธรรมและยั่งยืน” โดยมีตัวแทนชาวบ้านที่จะได้รับผลกระทบจากการสร้างถนนบนแม่น้ำเจ้าพระยาร่วมขึ้นเวทีเสวนาเพื่อสะท้อนให้ทุกคนได้รับรู้ว่าโครงการก่อสร้างถนนบนแม่น้ำขนาดใหญ่ ในแม่น้ำเจ้าพระยานั้นจะส่งผลกระทบต่อพวกเขาและประวัติศาสตร์กรุงเทพฯโดยรวมอย่างไร รวมถึงตัวแทนชาวบ้านยังได้นำเสนอแนวทางในการพัฒนาแม่น้ำเจ้าพระยาอย่างเป็นธรรมและยั่งยืนอีกด้วย นายประมาณ มุขตารี ตัวแทนชาวบ้านจากชุมชนบางอ้อซึ่งเป็นหนึ่งในชุมชนที่ได้รับผลกระทบกล่าวว่า ประวัติชุมชนเรามีมานับร้อยปี เราเป็นชุมชนมุสลิมดั้งเดิมหรือที่เรียกว่า“แขกแพ” ที่อพยพมาจากพระนครศรีอยุธยาโดยทางเรือ หลังสงครามเสียกรุงครั้งที่ 2 จากนั้นปักหลักค้าขายจนพัฒนาเป็นตลาดซุงที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ โดยนำไม้ล่องแพจากภาคเหนือแล้วมาขึ้นฝั่งที่นี่ เพื่อลำเลียงนำไปทำเฟอร์นิเจอร์ที่บางโพต่อไป พร้อมกันนี้ยังก่อเกิดเป็นชุมชน ร้านค้าที่มีสถาปัตยกรรมอันโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ โดยเฉพาะอาคารทรงโคโลเนียล เราใช้แม่น้ำเจ้าพระยาในการสัญจร จนเรียกแม่น้ำเจ้าพระยาว่า เป็นหน้าบ้านของเรา อย่างไรก็ตามในแต่ละยุคแต่ละสมัยหน้าบ้านของเราก็ผ่านการพัฒนามาหลากหลายโครงการโดยโครงการล่าสุดคือการก่อสร้างผนังกั้นน้ำที่ชุมชนของเรา ตัวแทนชาวบ้านจากชุมชนบางอ้อกล่าวว่า ในตอนที่จะเริ่มการก่อสร้างนั้น เจ้าหน้าที่ให้เหตุผลว่าจะป้องกันน้ำท่วมแต่หลังจากการก่อสร้างแล้วชุมชนของเราได้รับผลกระทบ มากมายไม่ว่าจะเป็นผนังกันน้ำที่สูงจนปิดช่องทางลมทำให้อากาศในชุมชนไม่ถ่ายเท และผนังกั้นน้ำเองก็มีความสูงมากและปิดกั้นทางสัญจรที่ชาวบ้านเคยใช้อยู่แต่เดิม ถึงแม้จะมีการสร้างบันไดให้ชาวบ้านได้ใช้ปีนขึ้นปีนลงแต่ก็ยากลำบากต่อการสัญจรของผู้สูงอายุและเด็กเล็ก ซ้ำร้ายผนังกั้นน้ำดังกล่าวนอกจากจะป้องกันน้ำเข้าไม่ได้แล้วแต่ยังทำให้น้ำที่อยู่เดิมนั้นระบายออกไปไม่ได้ทำให้เกิดน้ำขังน้ำเน่าส่งกลิ่นเหม็นและทำให้ชาวบ้านจำนวนหลายครัวเรือนเป็นโรคผิวหนังเรื้อรังอีกด้วย “แค่โครงการพัฒนาย่อยๆ ที่ไม่รับฟังเสียงของพวกเรายังทำให้พวกเราได้รับผลกระทบมากมายขนาดนี้ ไม่ต้องพูดถึงโครงการขนาดใหญ่อย่างถนนบนแม่น้ำเจ้าพระยาที่กำลังจะเกิดขึ้นว่าพวกเราจะได้รับผลกระทบมากมายกันขนาดไหน เพราะเท่าที่ทราบว่าถนนที่จะสร้างนั้นจะมีขนาดที่กว้างและสูงมาก ผมเชื่อว่ามันจะสร้างผลกระทบให้กับทางชาวบ้านมากมายอย่างแน่นอน จึงอยากขอให้หน่วยงานที่รับผิ ดชอบในเรื่องนี้ช่วยฟังเสียงของพวกเราบ้างและมาศึกษาผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับชุมชนของเราโดยที่กระบวนการในการศึกษานั้นชาวบ้าน ทุกคนจะต้องมีส่วนร่วมอย่างแท้ จริง”นายประมาณกล่าว ด้านนางปิ่นทอง วงษ์สกุล ตัวแทนชาวบ้านจากชุมชนริมน้ำกุฎี จีนกล่าวถึงประวัติศาสตร์และความเป็นมาของชุมชนว่า เราเป็นชุมชนเก่าแก่ต้นสายของโปรตุเกสเพราะที่นี่จะมีชาวโปรตุเกสมาพักอาศัยอยู่ราว 17 นามสกุลด้วยกัน จึงทำให้ชุมชนของเรามีความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่อยู่ร่วมกันถึงสามศาสนา คือ พุทธ คริสต์ และอิสลาม ก่อเกิดเป็นชุมชนด้านวัฒนธรรมสามศาสนา โดยชุมชนของเราจะมีโบสถ์เก่าแก่ ชื่อโบสถ์ซางตาครู้สที่เราได้ช่วยกันบูรณะมากว่าสามครั้งแล้วและโบสถ์แห่งนี้มีอายุยาวนานกว่า 248 ปี นอกจากนี้ที่ชุมชนของเรายังมีขนมฝรั่งที่นักท่องเที่ยวได้ชิมแล้วจะต้องประทับใจอีกด้วย และที่ย่านกุฎีจีนของเรามีสิ่งสำคัญที่เกิดขึ้นริมแม่น้ำ 5 อย่างด้วยกันคือ 1.มีห้างสรรพสินค้าห้างแรกของปร ะเทศไทยคือห้างหันแตรซึ่งเจ้าของก็คือนายฮันเตอร์ 2. เรามีร้ายถ่ายรูปร้านแรกของประเทศไทยที่เกิดขึ้นริมน้ำเจ้าพระยาคือร้านถ่ายรูปของฟรานซิสจิต จิตราคนี 3. เรามีการผ่าตัดครั้งแรกของหมอบรัดเลย์เพราะตอนนั้นจะมีการสู้รบกันและมีพระภิกษุแขนขาดคุณหมอบรัดเลย์จึงมีการผ่าตัดครั้งแรกเกิดขึ้นที่ชุมชนของเราแห่ งนี้ 4. เรามีโรงพิมพ์แห่งแรกที่คุณพ่อชาวฝรั่งเศสนำแป้นพิมพ์มาจากเขมร 5.มีการแปลพจนานุกรมไทยโปรตุเกส เล่มแรกเพราะชาวโปรตุเกสที่เข้ามาอยู่ที่นี่จะมีอาชีพแปลหนังสือกับทหารรับจ้าง และที่สำคัญคือบ้านเรือนแถบนี้เมื่อเข้าไปในชุมชนก็จะยังคงความ เป็นบ้านเรือนไทยแบบเก่าของรัชกาลที่ 5 ตัวแทนชาวบ้านจากชุมชนริมน้ำกุฎี จีนกล่าวว่า ในส่วนของเรื่องการก่อสร้างโครงการถนนบนแม่น้ำเจ้าพระยายอมรับว่า คนในชุมชนของเรา มีความเป็นกังวลมากและเกรงว่าจะ ทำให้ทัศนียภาพความเป็นกุฎีจีนเปลี่ยนแปลงไปเพราะที่ผ่านมากท ม.เคยมาสร้างเขื่อนเพื่อทำเป็นผนังกั้นน้ำให้ชุมชนของเรา ทำให้เราได้รับผลกระทบมาก แค่โครงการขนาดเล็กพวกเรายังได้รับผลกระทบมากมายขนาดนี้ ไม่ต้องนึกถึงโครงการขนาดใหญ่เลย จึงอยากขอให้กรุงเทพมหานครยุติการเตรียมก่อสร้างโครงการนี้และให้ลงมาสร้างกระบวนการในการฟังเสียงของชาวบ้านที่ชาวบ้านที่ ได้รับกระทบอย่างจริงจังก่อนจะเริ่มโครงการขนาดใหญ่ใดๆ ด้วย “ เราใช้แม่น้ำเป็นหน้าบ้านมาตั้งแต่โบราณดังนั้นโครงการที่จะสร้ างทางในแม่น้ำเจ้าพระยาจะต้องรั บฟังความคิดเห็นจากพวกเราให้รอบด้าน และการพัฒนาทุกอย่างที่จะเกิดขึ้นพวกเราไม่เคยปฏิเสธหากเป็นการพั ฒนาที่ยืนอยู่บนวิถีและอัตลักษณ์ของชุมชนเรา และประชาชนในชุมชนของเราได้มีส่วนร่วมและใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริง ซึ่งในชุมชนเราก็มีตัวอย่างของการพัฒนาอย่างยั่งยืนและทำให้เศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยวของชาวบ้านพัฒนาขึ้นไปด้วยคือการปรับปรุงทางจักรยานขนาดเล็กที่เชื่อมหลายชุมชนเข้าไว้ด้วยกันทำให้เศรษฐกิจและการท่องเที่ยวของชุมชนดีขึ้น ประชาชนในชุมชนก็มีรายได้ พึ่งพิงตนเองได้ซึ่ง กทม.น่าจะนำการพัฒนาในรูปแบบนี้ไปเป็นแบบอย่าง”นางปิ่นทองกล่าว ทิ้งท้าย ขณะที่น.ส.ระวีวรรณ สมิตะมาน ชาวบ้านจากชุมชนบ้านปูนกล่าวว่า ชุมชนบ้านปูนของเราก็มีประวัติศาสตร์ที่ยาวนานไม่แพ้ชุมชนอื่นๆ ที่อยู่ติดกับริมน้ำเจ้าพระยา ชุมชนของเรานั้นมีประวัติศาสตร์อย่างยาวนานมาตั้งแต่สมัยสงคราม โลกครั้งที่ 2 เราได้มาตั้งถิ่นฐานที่นี่ ซึ่งคำว่า บ้านปูนมาจากการที่ชุมชนทำปูนแดงที่ใช้ไว้กินกับหมาก ซึ่งเป็นเศรษฐกิจหลักของชุมชน และนำปูนที่ได้ส่งไปยังวังบางขุนพรหม วังเทเวศร์ และพอสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 การกินปูนกับหมากก็ได้ยุติไป นอกจากนี้ชุมชนยังมีประวัติศาสตร์ที่สำคัญอีกหนึ่งอย่างคือศาลา โรงธรรม ที่จะใช้ทำบุญทุกวันโกณฑ์และวันพระ ซึ่งตอนนี้ศาลาโรงธรรมแห่งนั้นก็ยังใช้ประโยชน์ในการทำบุญ เดือนละ 1 ครั้ง ซึ่งศาลาโรงธรรม นับเป็นโรงธรรมแห่งเดียวที่ยังหลงเหลืออยู่ เพราะเมื่อครั้งที่ชุมชนบ้านปู อพยพมานั้น ชุมชนกรุงเทพมหานครยังไม่มีการสร้างวัดใดๆ เลย นอกจากนี้ในสมัยก่อนตอนที่ตนยังเป็นเด็กตัวเล็กๆ คุณตาเคยเล่าให้ฟังว่า ชุมชนบ้านปูนไม่มีน้ำประปาใช้ ต้องไปหาบน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยามาใช้ เอามาใส่โอ่งใส่ตามแล้วแกว่งสารส้มเพื่อรอให้น้ำใสก็จะนำมาใช้อุปโภคบริโภค และในตอนเด็กๆ ตนยังจำภาพที่เด็กๆ ในวัยเดียวกันเดินตามใต้ถุนหาเศษสตางค์ และวิ่งซ่อนแอบกันบ้าง แต่ปัจจุบันไม่มีวิถีชีวิตแบบนี้แล้ว ชาวบ้านจากชุมชนบ้านปูนกล่าวเพิ่มเติมว่า ชาวบ้านที่ชุมชนบ้านปูนไม่ได้ปฏิเสธการพัฒนาหากแต่การพัฒนานั้นต้องยืนอยู่บนความเป็นธรรมและถูกต้องและฟังเสียงชองประชาชนอย่างรอบด้าน ยกตัวอย่างเช่นการก่อสร้างเขื่อนหลังจาก ปี 2538 เขื่อนที่สร้างขึ้นมาก็เป็นการปิดกั้น ทำให้น้ำเข้ามาขังบริเวณในบ้านที่อยู่ริมน้ำก็ทำให้น้ำในนั้น เป็นน้ำเน่าเสียวิถีชีวิตก็หายไป จากแต่เดิมใช้การเดินทางโดยน้ำก็หันมาใช้ถนน ปลาบางพันธุ์ก็สูญพันธุ์ไป นอกจากนี้ไม่พอในปี พ.ศ. 2554 ที่มีน้ำท่วมใหญ่ กทม.ก็มาดำเนินการสร้างทางเลียบ แม่น้ำที่ปิดสูงขึ้นไปอีก ก็ยิ่งทำให้ชาวบ้านได้รับผลกระทบ ลมที่จะพัดเข้าไปในบ้านก็ไม่มี จึงเป็นการผลักให้ชาวบ้านตายจากวิถีชีวิตริมน้ำอย่างแท้จริง “การพัฒนาที่เกิดขึ้นของกทม.แต่ละครั้ง ทำให้ชุมชนได้รับผลกระทบมากกว่าเดิม เพราะไม่เคยสอบถามหรือออกแบบการพัฒนาให้เหมาะสมและสอดคล้องกับวิถีชีวิตหรืออัตลักษณ์ของชาวบ้านเลยแม้แต่น้อย ชุมชนของพวกเราทุกชุมชนที่มาในวันนี้มีผูกพันกับสายน้ำทุกชุมชนและทุกชุมชนไม่เคยกลัวน้ำ ชาวบ้านทุกคนที่อยู่ริมน้ำเป็นคนที่เข้าใจแม่น้ำ เข้าใจน้ำขึ้นน้ำลง เข้าใจที่ต้องอยู่กับน้ำท่วมและเมื่อมีน้ำขึ้นน้ำหลากคนในชุมชนก็จะดีใจ เนื่องจากสามารถจับปลาได้มากขึ้น มีอาชีพเสริมเพราะเจ้าพระยาท่วมไม่นาน ท่วมแล้วก็ไป การสร้างเขื่อนทำให้อาชีพจับปลา หายไป และปิดกั้นน้ำกับชาวบ้านไปตลอดชีวิต ตอนนี้สิ่งที่เราเป็นกังวลจากบทเรียนที่ผ่านมาคือกรณีการเตรียมการก่อสร้างถนนบนแม่น้ำเจ้าพระยา จะเป็นการตอกย้ำความเสื่อมโทรม และนำไปสู่อาชญากรรมเพราะเมื่อมีถนนบนแม่น้ำที่กว้างรถอะไรจะวิ่งเข้ามาผ่านชุมชนของเราเมื่อไหร่ก็ได้ บุคคลภายนอกจะเดินเข้ามาชะโงกดูบ้านของเราก็ได้ ถ้าถามกลับว่าหากเป็นบ้านของเราที่ต้องอยู่บนความเสี่ยงตลอดเวลาแบบนี้เราจะยอมกันหรือไม่ ดังนั้นก่อนที่จะมีการสร้างทางหรือถนนบนแม่น้ำเจ้าพระยาและจะมี การทำประชาพิจารณ์ตนอยากให้ การเปิดการทำประชาพิจารณ์ที่ให้ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบได้มีส่วนร่วมในการส่งเสียงอย่างแท้จริ งไม่ใช่การปิดกั้นการแสดงความเห็นของชาวบ้านที่ไม่ต้องการทางเลียบเหมือนที่กทม.พยายามทำอยู่ตลอดเวลาแบบนี้ ซึ่งสิ่งที่พวกเราต้องการอย่างแท้จริงคืออยากให้กทม.หันมาอนุรั กษ์แม่น้ำ และคืนวิถีชุมชนให้กลับมาเป็นเหมือนเดิมเหมือนที่เคยเป็น” น.ส.ร ะวีวรรณกล่าว ด้านพิมพ์ศิริ สุวรรณนาคร ตัวแทนชาวบ้านจากชุมชนพานถมกล่าวว่า ชุมชนของเราผูกพันกับวิถีริมน้ำเจ้าพระยามานับร้อยปีและเราได้ใ ช้ประโยชน์จากแม่น้ำลำคลองตลอดเวลา ของดีชุมชนบ้านพานถมในสมัยก่อน บริเวณโดยรอบวัดปรินายก จะมีช่างฝีมือทำเครื่องถมมาตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ โดยชาวชุมชนเป็นผู้ริเริ่มสร้างเตาเพื่อทำขันเงิน หรือที่เรียกว่า “ขันน้ำพานรอง”ขึ้น และได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางในสมัยนั้น ความรุ่มรวยวัฒนธรรมของชุมชนเรา อยากให้คงอยู่แบบนี้ตลอดไป เพราะถือเป็นอัตลักษณ์เอกลักษณ์ของชุมชน การที่ภาครัฐเตรียมที่จะดำเนินโครงการ สร้างถนนเลียบแม่น้ำเจ้าพระยา อยากให้ทางภาครัฐให้ความสำคัญกับประชาชน โดยเฉพาะการมีส่วนร่วมในส่วนของการแสดงความคิดเห็นเพราะที่ผ่านมา มีเพียงการพูดคุยประชุมแบบกว้าง ๆ เท่านั้นรวมทั้งเหมารวมว่า ชาวบ้านเห็นด้วย ตรงนี้ถือว่าไม่ถูกต้อง “ข้อเรียกร้องของเรา คือไม่เอาถนนบนแม่น้ำเจ้าพระยา เพราะที่ผ่านมาไม่มีการถามความเห็นจากคนในชุมชนว่าเห็นด้วยหรือไม่ หรือเมื่อสร้างแล้ว ชาวบ้านจะได้ใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ ทางกทม.มักใช้เหตุผลว่าต้องการสร้างทางเลียบแม่น้ำเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงแม่น้ำ ถ้าหากกทม.ต้องการให้ประชาชนเข้าถึงแม่น้ำจริงก็ต้องฟื้นฟูวิถีของชาวบ้านริมแม่น้ำให้กลับคืนมาเพื่อให้ประชาชนที่อยู่ริมแม่น้ำเขาได้ใช้ประโยชน์จากแม่น้ำอย่างแท้จริง และเมื่อชาวบ้านเข้มแข็งก็สนับสนุนให้เกิดการท่องเที่ยวในรูปแบบชุมชนประชาชนทุกคนก็สามารถที่จะเข้าถึงแม่น้ำได้ ชาวบ้านทุกคนก็สามารถอยู่ได้จากการท่องเที่ยวนี่คือรูปแบบที่กท ม.ควรพัฒนาให้เกิดมากกว่าการไร่ รื้อชุมชนและนำถนนอะไรก็ไม่รู้ว่าตั้งผ่านบ้านของเขาแบบนี้” ตัวแทนชาวบ้านจากชุมชนพานถมกล่าว ขณะที่นางอรศรี ศิลปี ประธานชุมชนบางลำพูกล่าวว่า ในสมัยโบราณบริเวณนี้จะเป็นบ้านคนมอญอยู่กันมาก โดยมีการสร้างวัดชนะสงครามเพื่ออยู่คู่ชุมชน เหตุที่เรียกว่าชุมชนบางลำพูเพราะว่าชุมชนของเรามีต้นลำพูจำนวน มาก ชุมชนของเรามีของดีอยู่หลายอย่า ง นอกจากจะเป็นศูนย์กลางการค้าหลายชนิด ทั้งเสื่อผ้าและอาหารแล้ว ยังมีชุมชนดนตรีไทยชาวบ้านที่เก่ากว่าร้อยปี เป็นแหล่งเรียนบรรเลงดนตรี ขับร้อง การแสดง การละเล่น และการประดิษฐ์เครื่องดนตรีไทย ตนเป็นคนที่เติบโตมากับชุมชนบาง ลำพู และเห็นภาพเก่าๆ และวิถีชีวิตผู้คนที่อยู่บริเวณโดยรอบบางลำพูและเห็นเสน่ห์ชุมชนที่เติบโตผ่านยุคสมัยต่างๆ มาอย่างช้านาน และเนื่องจากเป็นชุมชนที่ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยาชุมชนที่อยู่ริมน้ำทุกชุมชนรวมถึงชุมชนบางบลำพูเองก็จะมีวิถีชีวิตของเขา และมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ที่เราสามารถบอกเล่าได้ ดังนั้นขอเข้าประเด็นเลยว่าการที่กทม.กำลังจะมีโครงการสร้างถนนบนแม่น้ำเจ้าพระยาตนขอยืนยันเลยว่ามันทำไม่ได้ เพราะการก่อสร้างขนาดใหญ่แบบนั้นจะทำให้แม่น้ำแคบลง รวมถึงวิถีชุมชนริมน้ำก็จะหายไป ประธานชุมชนบางลำพูกล่าวเพิ่มเติมว่า มันไม่ใช่ไม่มีตัวอย่างให้เห็นว่าการพัฒนาของกทม.ที่ผ่านมานั้นมี ผลกระทบกับชาวบ้านอย่างไร ซึ่งที่เห็นได้อย่างชัดเจนในชุมชนเราเลยก็คือการสร้างถนนเลียบแม่น้ำบริเวณสวนสันติชัยปราการก็ ยังพบข้อบกพร่องในหลายๆด้าน ไม่มีการดูแล ไม่มีการจัดสรรให้ใช้ประโยชน์อย่างเท่าเทียม อุปกรณ์บนสะพานก็ชำรุดผุพัง การทำความสะอาดก็ไม่มีขยะเต็มไปหมด และทำให้เกิดการมั่วสุมในเวลากลางคืน ทำให้ปัจจุบันนี้ไม่มีใครไปเดินถนนบริเวณริมน้ำ และสะพานตรงนั้นมีปัญหาอาชญากรร มเกิดขึ้นบ่อยครั้ง จนต้องขอกำลังทหารมาดูแลรักษาความปลอดภัย นี่แค่การสร้างสะพานขนาดย่อมยังเกิดปัญหากับชุมชนมากขนาดนี้ แล้วถ้าจะมีการสร้างทางเลียบแม่น้ำเจ้าพระยาขนาดใหญ่ปัญหาจะเกิดกับชุมชนมากมายขนาดไหน กทม.จะบริหารจัดการในการดูแลอย่างไร ความปลอดภัยที่จะเกิดขึ้นกับชุมชนจะเป็นรูปแบบใด ใครจะเป็นคนดูแลรักษาความสะอาด นี่คือคำถามที่เราเห็นจากสิ่งที่เกิดขึ้นมาแล้ว “ดิฉันคิดว่าสิ่งที่กทม.ควรทำจริงๆ ตอนนี้คือการดูแลและพัฒนาชุมชนริมน้ำที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้ มีคำพูดที่ว่า แม่น้ำเจ้าพระยา หล่อเลี้ยงชีวา มากว่า 700 ปี ชุมชนริมน้ำเจ้าพระยาไม่ใช่ว่าเพิ่งเกิดขึ้นมา แต่เขาเกิดกันมาแล้วกว่าร้อยๆ ปี และสิ่งที่ดิฉันเข้าใจมาตั้งแต่เกิดคือการทำถนนนั้นต้องทำบนบก และในแม่น้ำต้องเป็นทางสัญจรของเรือ ไม่ใช่การนำถนนบนบกมาลงในแม่น้ำ ซึ่งผิดหลักการโครงการถนนบนแม่น้ำเจ้าพระยาที่ ไม่มีความชัดเจนนี้ มองแล้วก็ไม่ได้เกิดประโยชน์กับชาวบ้านชุมชนไหนเลยแบบนี้ กทม.เองไม่ควรทำสิ่งที่กทม.ควรทำคือกาพัฒนาชุมชนริมน้ำให้เขาคงอัตลักษณ์ของเขาไว้จะดีกว่า ดังนั้นกทม.ควรยุติโครงการ และให้สอบถามคนในชุมชนว่าเขาต้องการอะไร และออกแบบความต้องการของชุมชนให้ ทุกคนได้ใช้ประโยชน์อย่างแม่น้ำอย่างเป็นธรรมและยั่งยืนนั่นถึงจะเป็นการพัฒนาที่ถูกต้องที่สุด”นางอรศรีกล่าว ท้ายสุด อดีตนายกรัฐมนตรี นายอานันท์ ปันยารชุน แสดงความคิดเห็นถึงการพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ บนแม่น้ำเจ้าพระยา ว่าต้องฟังเสียงชุมชนและยึดผลประโยชน์ของชุมชนเป็นที่ตั้งเน้นพัฒนาให้ตรงจุดไม่ทำลายวิถี ชีวิตชาวบ้าน เปรียบเจ้าพระยาเป็นเส้นเลื อดใหญ่ของคนไทยที่ต้องรักษาไว้ ผมรักเจ้าพระยา การที่เป็นเมืองที่ทันสมัย ไม่ได้หมายความว่าเราจะต้องมีตึกรามบ้านช่องไปเปรียบเทียบกับนิวยอร์ก ชิคาโก หรือ เซี่ยงไฮ เมื่อไหร่เจ้าหน้าที่ของรัฐจะเห็นถึงคุณค่าของการเป็นเมืองที่ไม่ใช่เมืองใหม่ เมืองที่ทันสมัย แต่เป็นเมืองที่น่าอยู่ เป็นเมืองที่ร่มเย็น ไม่ใช่หากต้นไม้ไปกีดขวางเสาไฟฟ้าจะต้องตัดต้นไม้ก่อน จะสร้างถนนก็ตัดต้นไม้ ขยายถนนก็ต้องถมคลองก่อน แม่น้ำเจ้าพระยามีความหมายมาก หากเปรียบบางกระเจ้าเป็นปอดของกรุงเทพฯ แม่น้ำเจ้าพระยาถือเป็นเส้นเลือดใหญ่ของคนกรุงเทพฯ และคนไทยโดยทั่วไป ทำไมในความเป็นสมัยใหม่จะต้องทำลายของเก่า ทำลายชีวิต ชุมชน ทำลายความสงบ ซึ่งส่วนตัวอยากเห็นแม่น้ำเจ้าพระยาที่ ไม่มีสิ่งกีดขวางต่างๆออกไปในแม่น้ำ อยากเห็นแม่น้ำเจ้าพระยาที่ ใสสะอาด เราจึงต้องเรียกร้องความสงบกลั บมา “สิ่งที่เขาสร้างขึ้นใหม่ ขอร้องเถอะ เห็นแก่จิตใจประชาชนบ้าง เห็นกับวิถีชีวิตประชาชน เห็นกับสิ่งที่เขาหวงแหนมาตลอดชีวิต เขาเกิดที่นี่ใช้ชีวิตที่นี่ ทำไมต้องสร้างนู้นสร้างนี่ขึ้นมา โดยไม่เห็นความยั่งยืน หรือความบริสุทธ์ผุดผ่องของโบราณหรือไม่เห็นคุณค่ าของสิ่งที่เป็นประเพณีนิยมหรือ สิ่งที่ก่อให้เกิดวิญญาณของคนกรุงเทพ และคนไทย ทำไมถึงต้องไปเบียดเบียนสิ่ งแวดล้อม เบียดเบียนคนหาเช้ากินค่ำ สังคมอยู่ไม่ได้ถ้าทุกคนถูกลืม ถูกตัดหางปล่อยวัด คนพวกนี้เขามีจิตใจนะ และที่เราทุกคนต้องมีต่อไปคื อความหวัง ๆว่า การพัฒนาเมืองนั้น คนอยู่ร่วมได้กับธรรมชาติ วิถีชีวิตเก่าต้องผสมผสานกั บใหม่ การเดินไปสู่ในอนาคตถ้าทำลายสิ่ งเก่ามันจะเป็นอนาคตที่ไม่สดใส” สำหรับการจัดงานเทศกาลริมน้ำบางกอกในครั้งนี้นอกจากจะมีเวทีเสวนาหัวข้อ “พัฒนาแม่น้ำเจ้าพระยาอย่างไรให้ เป็นธรรมและยั่งยืน” แล้วยังมีการจัดออกร้านของดีของเด่นจาก 8 ชุมชนรอบริมน้ำเจ้าพระยา ซึ่งประชาชนทุกคนที่เข้าร่วมงาน จะได้เรียนรู้วิถีของชุมชนริมน้ำ ผ่านการจำหน่ายของดีของเด่นของชุมชนต่างๆ เหล่านี้ แล้วยังมีกิจกรรมแสดงเจตนารมณ์ในการพัฒนาและปกป้องแม่น้ำเจ้าพระยาอย่างยั่งยืนร่วมกันของชาวชุมชนริมน้ำและคนไทยทุกคนผ่าน กิจกรรม#mychaophraya “วาดเจ้าพระยาในแบบที่ฉันฝัน” บนผืนผ้าใบขนาดใหญ่ และการแสดงดนตรีAcoustic และการบอกเล่าความรู้สึกของศิลปินที่มีต่อแม่นำเจ้าพระยา โดยศิลปินหลากหลายท่านอาทิ คุณมาโนช พุฒตาล , คุณเป็ก บลูสกาย, คุณเล็ก สุรชัย , คุณน้อย กฤษฎา สุโกศล แคลปป์& คุณสุกี้ พร้อมครอบครัว ศุโกศล พร้อมศิลปินรับเชิญพิเศษ คุณบอย โกสิยพงษ์ โป้ง โยคี เพลย์บอย Mariam B5 โดยมีนายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรีเข้าร่วมเปิดการแสดง