“ดิจิทัลไทยแลนด์บิ๊กแบง 2017”โชว์ศักยภาพเยาวชน เผยความหวังทิศทางไทยแลนด์ 4.0 ชัดเจน
ผ่านพ้นไปแล้วกับงานนิทรรศการนานาชาติ “ดิจิทัลไทยแลนด์บิ๊กแบง 2017” ภายใต้แนวคิด “ดิจิทัลทรานฟอร์เมชั่นไทยแลนด์” โลกเปิด เราปรับ ประเทศเปลี่ยน จัดโดยกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) โดยสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) ระหว่างวันที่ 21-24 กันยายน 2560 ณ ชาเลนเจอร์ ฮอลล์ 1-2 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี นับเป็นงานมหกรรมการแสดงนิทรรศการและการประชุมทางวิชาการด้านเทคโนโลยีดิจิทัลที่ใหญ่ที่สุดแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีผู้เข้าร่วมชมงานคับคั่งกว่า 200,000 คนจากกว่า 40 ประเทศทั่วโลก และมีผู้ชมผ่านการถ่ายทอดสดบรรยากาศงาน และรับฟังการสัมมนาผ่านโลกดิจิทัลกว่า 150 หัวข้อ โดยผลของการจัดงานครั้งนี้ ทำให้ผู้ที่เข้าร่วมชมงานได้เรียนรู้ เพื่อเตรียมความพร้อมสู่การเปลี่ยนผ่านประเทศไทยสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ
พร้อมกันนี้ในงานยังมีการจัดกิจกรรมการแข่งขัน“บิ๊กแบงแมทซ์” เฟ้นหาสุดยอดเซียนสายพันธุ์ดิจิทัลในระดับเยาวชนและบุคคลทั่วไปมาร่วมวัดฝีมือโชว์ความสามารถครั้งยิ่งใหญ่ระดับประเทศ ชิงเงินรางวัลมูลค่ารวมเกือบ 8 แสนบาท อาทิ การแข่งขันสิ่งประดิษฐ์นวัตกรรมและเทคโนโลยีประเภท IoT การแข่งหุ่นยนต์โรบอทกู้ภัย แข่งโดรนเรซซิ่ง แข่งบังคับโดรน และการแข่งขัน eSports อีกทั้งยังมีการจัดอบรมเวิร์คช็อปด้านนวัตกรรมต่างๆ อีกมากมายซึ่งในงานมีนักเรียนนักศึกษาและประชาชนผู้สนใจเข้าร่วมชมกิจกรรมการแข่งขันกว่า 50,000 คน และเยาวชนร่วมแข่งขันประชันฝีมือรวมกว่า 1,267 คนเห็นชัดถึงศักยภาพเยาวชนและประชาชนด้านนวัตกรรมดิจิทัลพร้อมความหวังและทิศทางของประเทศในการก้าวสู่ไทยแลนด์ 4.0 อย่างชัดเจน สำหรับเวทีการแข่งขัน“บิ๊กแบงแมทซ์”การพิชิตศึกแห่งยุคดิจิทัลครั้งยิ่งใหญ่ระดับประเทศครั้งนี้มีทั้งหมด 4 ประเภทคือ
1.ผลงานการประกวดสิ่งประดิษฐ์นวัตกรรมและเทคโนโลยี ประเภท IoT จัดการแข่งขันเป็น 4 ระดับคือ มัธยมต้น มัธยมปลาย อุดมศึกษาหรือเทียบเท่า และระดับประชาชนทั่วไป โดยผลการแข่งขันระดับมัธยมต้น รางวัลชนะเลิศได้แก่ Smart CUD รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ แผง LED อัจฉริยะสำหรับผู้มีปัญหาด้านการพูด และรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ Air4all : Anyone can breathe
ผลการแข่งขันระดับมัธยมปลาย รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ Suankularb non a remote water qualitymonitoring system รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ Intelligent turbine IoT และรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ IoT Parking Status ผลการแข่งขันระดับอุดมศึกษาหรือเทียบเท่า รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ทีม Cerulean Mark 5s LED Phototherapy รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ ทีม โดรนดูแลสวนเพื่อคุณ (Drone for you) และรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ ทีม Warehouse Auto ส่วนผลการแข่งขันระดับประชาชนทั่วไป รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ Bearcon school bus รองชนะเลิศอันดับ1 ได้แก่ Smart prison และรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ 2 Katun you
2.การแข่งขัน eSports ถือว่าได้รับการตอบรับจากคนรุ่นใหม่ทั้งเยาวชน นักเรียน นักศึกษาและประชาชน ทั้ง 2 เกม คือ เกม LOL (LEAGUE OF LEGENDS) รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ underdog รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ Third party gameing รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ Ultimate ส่วนเกม RoV รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ทีม 6ixtynine รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ ทีม All night รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ ทีม Vortex ซึ่งการแข่งขัน eSports ถือเป็นกิจกรรมที่ได้รับกระแสความนิยมอย่างสูงในขณะนี้
มายด์ เน็ตไอดอลชื่อดังผู้เข้าร่วมการแข่งขันเกม RoV กล่าวว่า ตอนนี้รัฐบาลได้หันมาส่งเสริมกีฬา eSports มากขึ้น ถือว่าเป็นกีฬาที่คนให้ความสนใจมากขึ้นซึ่งเกม RoV เอง ไม่ใช่แค่เกม แต่คือเกมที่ช่วยให้เยาวชนไทยได้มีโอกาสแข่งขัน วางแผน แข่งขัน ประลองปัญญา ถือว่าเป็นกิจกรรมที่น่าส่งเสริม “การจัดงานครั้งนี้ ถือว่าเป็นการเปิดใจกว้างให้เด็กๆ ที่ชอบเล่มเกม ได้เข้ามามีสังคมใหม่ๆ ได้แลกเปลี่ยน เรียนรู้ ต้องขอบคุณภาครัฐที่ส่งเสริม eSports และอยากให้ส่งเสริมกิจกรรมนี้อีกเรื่อยๆ”มายด์ เน็ตไอดอล กล่าว
3.การแข่งขันอากาศยานไร้คนขับหรือการแข่งขันโดรน ที่ออกแบบสนามประลองให้มีความท้าทายและแตกต่างจากลีคอื่นๆ เปิดโอกาสให้คนทั่วไปทำการแข่งขันโดยแบ่งการแข่งขันเป็น 2 ประเภทได้แก่ โดรนมืออาชีพ (Drone Racing) รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ทีม XBee-Furious รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ ทีม บางปรง FLY และรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ ทีม KKS. RACING ส่วนการแข่งขันโดรนมือสมัครเล่น (Mini Drone) รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ทีม ระบือทีม 1 รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ ทีม KKS. RACING และรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ ทีม บางปรง FLY
เด็กชายภาณุพงษ์ ธาราสุวรรณกุล อายุ 11ปี ชั้นป.6 โรงเรียนเซนแอนโทรนี จังหวัดฉะเชิงเทรา ผู้ร่วมการแข่งขันกล่าวว่า รู้สึกประทับใจการแข่งขันโดรนสนามนี้ด้วยรูปแบบของสนามแข่งขันที่มีความแตกต่าง ถือว่าเป็นกิจกรรมที่สร้างความสนุกนานและอยากให้จัดการแข่งขันแบบนี้บ่อยๆ
4.การแข่งขันหุ่นยนต์กู้ภัย (RESCUE CHALLENG) การแข่งขันออกแบบและพัฒนาหุ่นยนต์อัตโนมัติเพื่อใช้รับคำสั่งจากมนุษย์ในการสำรวจและช่วยเหลือซึ่งแข่งขันในสนามจำลองซากปรักหักพัง โดยจัดการแข่งขันเป็น 4 ระดับ คือ มัธยมต้น มัธยมปลาย อุดมศึกษาหรือเทียบเท่า และระดับประชาชนทั่วไป โดยผลการแข่งขันระดับมัธยมต้น รางวัลชนะเลิศได้แก่ ทีม My Hope รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ทีม MK-Boy รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ ทีม NB Robot 2 ผลการแข่งขันระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ทีม ภูไท – โรบอท รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ ทีม NB – Robot #3 และรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ ทีม NB – Robot #1 ผลการแข่งขันรอบอุดมศึกษาหรือเทียบเท่า รางวัลชนะเลิศได้แก่ ทีม Spinal IE Tech รองชนะเลิศอันดับที่ 1 ทีมคนบ้า รองชนะเลิศอันดับที่ 2 ทีมไซสะณะ ส่วนผลการแข่งขันระดับประชาชนทั่วไป รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ANALOG รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ ALL STAR และรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ SPRC
โดยกิจกรรมการแข่งขัน“บิ๊กแบงแมทซ์” ครั้งนี้นอกจากเป็นการส่งเสริมเยาวชนได้ยกระดับและพัฒนาศักยภาพด้านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลให้สูงมากขึ้นจากการแข่งขันดังกล่าว กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) มีแผนในการต่อยอดสนับสนุนกิจกรรมดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมดิจิทัล 4.0 อย่างมีประสิทธิภาพตามนโยบายที่ประกาศไว้