จากการเข้าร่วมประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 30 และการประชุมระดับผู้นำแผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย–มาเลเซีย-ไทย หรือ IMT-GT ครั้ง ที่ 10 ของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและคณะ เมื่อวันที่ 28-29 เมษายน 2560 ณ ประเทศฟิลิปปินส์ ได้มีการเน้นย้ำกับประเด็นต่างๆ ดังนี้
1) การเสริมสร้างประชาคมอาเซียน โดยเฉพาะด้านความเชื่อมโยงของโครงสร้างพื้นฐานและกฎระเบียบต่างๆ ให้สมบูรณ์เพื่อเป็นการสนับสนุนวิสัยทัศน์ 20 ปีของอาเซียน และได้มีการรับรองแผนปฏิบัติการ 5 ปี
2) การพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ยกระดับให้ภูมิภาคนี้เป็นจุดหมายปลายทางเดียวกัน ( Single Tourist Destination) ของนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก โดยกำหนดให้ปี 2560 เป็นปีแห่งการท่องเที่ยวภูมิภาคอาเซียน ภายใต้ชื่อ Visit ASEAN at 50 เพื่อฉลองการก่อตั้งอาเซียนครบรอบ 50 ปี โดยคาดว่าจะสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวได้มากกว่า121ล้านคน และสร้างรายได้ให้กับประเทศสมาชิกถึง 29 ล้านล้านบาท ประมาณ 828 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ประเทศสมาชิกอาเซียนได้เตรียมความพร้อมโดยการพัฒนาเครือข่ายเส้นทาง การพัฒนาโครงการเชื่อมโยงเส้นทางรถไฟสายคุนหมิง-สิงคโปร์ ซึ่งคาดว่าจะแล้ว เสร็จภายในปี 2563 การพัฒนาทางหลวงอาเซียน โดยเน้นการเชื่อมต่อของไทยกับเมียนมา กัมพูชา ลาว และเวียดนาม
สำหรับประเทศไทยใน การประชุมสุดยอดสภาการเดินทางและการท่องเที่ยวโลก ประจำ ปี2560 หรือ World Travel and Tourism Council Global Summit 2017 เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2560นายกรัฐมนตรีได้เน้นย้ำให้ไทยแสดงศักยภาพและเตรียมความพร้อมที่จะเป็นศูนย์กลางด้านการท่องเที่ยวของเอเชียและของโลก และได้นำเสนอนโยบาย ไทยแลนด์บวกหนึ่ง หรือ Thailand Plus One เพื่อกระตุ้นและดึงดูด การลงทุนใหม่จากนักลงทุนต่างประเทศ ที่สามารถใช้ประเทศไทยเป็นฐานสำคัญของภูมิภาคเข้าสู่ตลาดในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่มีผู้บริโภคกว่า 620 ล้านคน โดยรัฐบาลได้จัดทำยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวปี 2558-2560 เพื่อช่วยการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ดังนี้
1) การวางแผนส่งเสริมตลาดท่องเที่ยวไทย สู่การเป็น“จุดหมายปลายทางเพื่อการเดินทางมาพักผ่อนที่มีคุณภาพ” หรือ “Quality Leisure Destination”
2) กระจายช่วงเวลาการท่องเที่ยว ผ่านการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในแต่ละชุมชนในจังหวัดรองให้มากขึ้น เพื่อเพิ่มทางเลือกให้กับนักท่องเที่ยวสามารถเดินทางมาเที่ยวไทยได้ตลอดทั้งปี ตัวอย่างกิจกรรมขององค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษ เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ซึ่งได้กำหนดให้จังหวัดน่านเป็นพื้น ที่พิเศษในการท่องเที่ยว ซึ่งมีการจัดตั้ง ชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวของชุมชนบ่อสวกและชุมชนในเวียง โดยให้ชุมชนเป็นผู้กำหนดแนวทาง สร้างการมีส่วนร่วม สร้างอาชีพ สร้างการกระจายรายได้ภายในชุมชน และให้การท่องเที่ยวเป็นตัวขับเคลื่อนการพัฒนาควบคู่ไปกับการอนุรักษ์วัฒนธรรมรักษาอัตลักษณ์ของแหล่งท่องเที่ยว
ที่มา - กลุ่มงานแผนงานยุทธศาสตร์ กองวิชาการและแผนงาน
Post Views: 10