อธิบดีกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ปลูกจิตสำนึกคนไทยสร้างสังคม “ปันเป๋า”

จากการลงพื้นที่ร่วมกับเทสโก้ โลตัส สู่เกาะพีพี แหล่งท่องเที่ยวอันดับต้นๆ ของไทยและมีชื่อเสียงระดับโลก  จากข้อมูลพบว่า มีนักท่องเที่ยวเข้าเขตอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพีเพิ่มขึ้นทุกปี (ปี 2558 จำนวน 1,260,000 คน  ปี 2559 เพิ่มจำนวนเป็น 1,739,571 คน และในปี 2560 ยอดสิ้นสุดเดือนกุมภาพันธ์ มีนักท่องเที่ยวแล้ว 682,839 คน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมากว่า 2 หมื่นคน) ธุรกิจท่องเที่ยวขยายตัวอย่างรวดเร็ว ก่อให้เกิดผลกระทบด้านมลพิษ โดยเฉพาะปัญหาขยะและน้ำเสีย ซึ่งส่งผลต่อระบบนิเวศน์และสิ่งแวดล้อม ทำให้ปริมาณขยะในทะเลเพิ่มจำนวนขึ้น

กรณีดังกล่าวผู้ดูแลรับผิดชอบอย่าง กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้เปิดเผยถึงการเดินหน้าสร้างจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมให้เป็นระบบและยั่งยืน หวังกู้วิกฤติขยะทะเล โดยการร่วมรณรงค์ สร้างสังคม “ปันเป๋า” ขึ้น เพื่อปลูกจิตสำนึก งดใช้ถุงพลาสติค ซึ่งได้มีการแถลงข่าวเปิดตัวโครงการเมื่อวันก่อน

นายสากล ฐินะกุล  อธิบดีกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า “ตอนนี้เรามีปัญหาเรื่องขยะในทะเลจำนวนมาก โดยเฉพาะขยะพลาสติค จึงคิดว่าทำอย่างไรให้ขยะพลาสติคให้ได้มากที่สุด การรณรงค์อย่างเดียวไม่เพียงพอ บางครั้งคนก็ถามว่าไม่เอาถุงแล้วจะใช้อะไร ดังนั้นกรมส่งเสริมฯ จึงร่วมกับทางเทสโก้ โลตัส มองว่าน่าจะมีอะไรมาทดแทน พอดีทางเทสโก้ โลตัส ยินดีทำกระเป๋าเพื่อให้ยืม แต่ความหมายคือ ยืมหายก็ไม่ได้ซีเรียสอะไร แต่เป็นการสร้างความเคยชินในการใช้ถุงผ้า ซึ่งคาดหวังว่าหากอนาคตไม่มีกระเป๋าผ้าแจก ประชาชนก็จะนำกระเป๋าผ้ามาใช้  เป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสร้างความเคยชินให้กับประชาชนและเป็นการสื่อสารออกไป

กิจกรรมครั้งนี้ เราหารูปแบบที่ชัดเจนขึ้นมา การมาเกาะพีพีเพียงครั้งเดียว ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอะไรได้มากนัก แต่อยากให้คนในพื้นที่ได้ร่วมกันทำงาน หลังจากนี้จะได้มีการนำถุงผ้าไปประยุกต์ใช้กับอุทยานฯ อุทยานโดยการจัดการของกระทรวงทรัพย์ฯ ให้เป็นอุทยานสีเขียว หากนักท่องเที่ยวเข้าสู่อุทยานให้เปลี่ยนเป็นใส่ถุงนี้แทน ไม่นำถุงพลาสติคเข้าไป เมื่อออกมาก็นำถุงผ้ามาคืน ก็จะช่วยให้การจัดการขยะในอุทยานมีประสิทธิภาพมากขึ้น

นายสากล กล่าวต่อว่า “จากการรณรงค์ที่ผ่านมา หากเทียบกับในช่วงแรกคนจะไม่เข้าใจเลย แต่เดี๋ยวนี้ไปตามตลาดนัดบอกไม่เอาถุงพลาสิตค แม่ค้าเองก็จะรู้ว่า ลดโลกร้อนหรือ เริ่มมีคนมองเห็นและเข้าใจแล้ว เพียงแต่ยังไม่ปฏิบัติกันมากนัก ตอนนี้จึงคิดกันว่าจะทำอย่างไรให้มีการปฏิบัติเพิ่มขึ้น ซึ่งเรามองว่า การรณรงค์ต้องควบคู่ไปกับการออกกฎระเบียบต่างๆ

การปรับพฤติกรรมต้องใช้เวลา ซึ่งเราก็ต้องทำกันอย่างต่อเนื่อง ขณะนี้ทางกรมส่งเสริมฯก็ได้ร่วมมือกับห้างสรรพสินค้าทุกห้าง เพื่อประชาชนสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง

ในขณะที่ตามมหาวิทยาลัยต่างๆ ทางกรมส่งเสริมฯ เองก็ได้ขยายผลเข้าไป โดยมีโครงการ กรีน ยูนิเวอร์ซิตี้ ซึ่งเราไม่ได้รณรงค์แต่เรื่องขยะอย่างเดียว แต่เป็นเรื่องของต้นไม้ การเดินทาง ซึ่งการใช้รถร่วมกันหรือการใช้จักรยาน ก็ร่วมกันอยู่

   

ในส่วนนโยบายของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ในปี 2560 นายสากล กล่าวว่า อันดับแรก ขยะ เป็นเรื่องนโยบายของรัฐบาล กรมฯรับผิดชอบขยะต้นทางว่าทำอย่างไรให้คนมีการแยกขยะ ลดขยะ และนำขยะมาใช้ประโยชน์ นั่นคือการลดปัญหาขยะอย่างยั่งยืนได้

กรมฯ ทำงานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและกระทรวงมหาดไทย อีกเรื่องหนึ่งที่ได้รับมอบมาคือเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเมือง ต้นไม้บนภูเขาหรือป่า อนุรักษ์จะมีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธ์พืชดูแลอยู่แล้ว แต่พื้นที่นอกเหนือจากนั้นยังขาดคนที่เข้าไปจัดการดูแล เช่นการเพิ่มพื้นที่การปลูกต้นไม้ในสวนสาธารณะบนอาคาร บ้านเราสวนสาธารณะมีน้อย แต่หากเราทำสวนสาธารณะใหญ่ๆไม่ได้ เราสามารถทำบนสถานที่เล็กๆ ได้หรือไม่  เรากำลังจะจัดเสวนากับคนที่ทำเรื่องนี้อยู่เพื่อหาทิศทางให้ชัดเจนขึ้น

อีกเรื่องหนึ่งคือ การจัดการภูมิอากาศ รัฐบาลไปตกลงที่ปารีสมาแล้ว เราต้องมาทำความเข้าใจกับพี่น้องประชาชนว่า การที่เราจะลดก๊าซเรือนกระจก ทุกคนต้องมีส่วนร่วม เราต้องลดให้ได้ถึง 20-25 เปอร์เซ็นต์ ตอนนี้ในภาคอุตสาหกรรม ภาคการขนส่ง สามารถลดใหญ่ได้ แต่ในภาคประชาชนต้งอมีความรู้ไปด้วย บริโภคอย่างไรเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

และทำอย่างไรในการปรับพฤติกรรมของประชาชนให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โรงแรมตอนนี้มีการทำโรงแรมสีเขียว

แต่ในขณะที่ บริษัทต่างๆ บางครั้งอาจจะละเลย สังเกตุออฟฟิศมีทั้งเครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องปรินเตอร์ ตู้เย็น เหล่านี้อยู่ในออฟฟิศ

นอกจากนี้ ทางกรมฯ ยังมีการประสานงาน จัดอาสาสมัคร งานอาสาสมัคร มีสองแบบ คือหมู่บ้าน ระดับหมู่บ้านมีการคัดเลือกและมาทำงานเป็นคณะกรรมการในระดับประเทศ โดยให้อาสาสมัครแจ้งข่าวเตือนภัย ผ่านแอพลิเคชั่น ไทยอาสาดอทคอม คนไทยมีจิตอาสาเยอะ แต่ไม่มีเวทีให้เขาเข้าร่วมเท่านั้นเอง ก็จะกระจายเรื่องนี้ไปตามจังหวัดต่างๆ เช่นงานกาชาดเป็นต้น

ซึ่งประชาชนหากมีข้อมูลใดๆ สามารถประสานมาที่หน่วยงานรัฐได้ ทางเราจะกระจายเชื่อมต่อไปยังหน่วยงานในสังกัดให้