COTTO เปิดบ้านรับว่าที่สถาปนิกใหม่ พร้อมเชื่อมต่อแนวคิดการออกแบบบ้านรับวิถีชีวิตแนวใหม่

การแพร่ระบาดของโควิด 19 ตลอดระยะเวลา 3-4 ที่ผ่านมา นับเป็นปรากฏการณ์ที่มีความสำคัญ ส่งผลกระทบต่อความเปลี่ยนแปลงในแทบทุกบริบทของสังคม โดยเฉพาะพฤติกรรม ความเป็นอยู่ มุมมอง แนวคิดที่ถูกกระตุ้น จนทำให้เกิดนิยมของคำว่า วิถีชีวิตแนวใหม่ หรือ New Normal ที่ถูกพูดถึงมาอย่างต่อเนื่อง 


สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดก็คือ ลักษณะของบ้านที่เป็นที่ต้องการ หรือสามารถตอบสนองต่อไลฟ์สไตล์ หรือการใช้พื้นที่ตามวิถีการดำรงชีวิตแนวใหม่ ที่มีให้เห็นตั้งแต่การปรับปรุงพื้นที่ใช้สอยภายในบ้านให้สามารถตอบสนองต่อการใช้งานที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน ในรูปแบบของ Work From Home ในระยะต้น จนถึงงานออกแบบสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยเฉพาะ ที่พักอาศัย ในนิยามใหม่ที่ไม่เหมือนเดิม


ซี่งแน่นอนว่าการพัฒนางานออกแบบใหม่ ด้วยเงื่อนไขของการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว สถาปนิกยุค New Normal นอกจากจะต้องให้ความสำคัญกับเกณฑ์ออกแบบใหม่ที่สัมพันธ์กับไลฟสไตล์ใหม่ ที่เปลี่ยนแปลงไปการเรียนรู้เกี่ยวกับพัฒนาการ หรือนวัตกรรมใหม่ของวัสดุตกแต่งบ้าน เพื่อนำมาสร้างสรร หรือตอบโจทย์การออกแบบ ก็มีความสำคัญด้วยเช่นเดียวกัน 


จากการเปิดเผยของอาจารย์สรเชษฐ์ ชลประเสริฐ ภาควิชาสถาปัตยกรรมภายใน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้ความเห็นที่น่าสนใจถึงความเปลี่ยนแปลงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นว่า “ในแง่การออกแบบสถาปัตยกรรมน่าจะมีผลเรื่องของการกลับมาโฟกัสเรื่องของ Private Space ที่มีความสำคัญขึ้นและมีคำจำกัดความที่เปลี่ยนแปลงไปกว่าเมื่อก่อนที่เราจะให้ความสำคัญในหน้าตารูปลักษณ์ของ Public Space หรือหน้าร้านเป็นหลัก



ดังนั้นสิ่งน่าสนใจในเรื่องไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนไป คือ การออกแบบพื้นที่ที่จะเชื่อมชีวิตทั้ง 2 ส่วนเข้าด้วยกัน รองรับความยืดหยุ่นของการใช้งานที่ลื่นไหลและหลากหลายด้านประโยชน์ใช้สอย


จากการที่ได้ใช้เวลาอยู่ในบ้านมากขึ้นกว่าเดิมของคนเมือง ที่เมื่อก่อนอาจจะเป็นแค่ Resting Place เพื่อให้มีแรงออกไปต่อสู้ชีวิตประจำวันต่อไปได้นั้น คงมีDynamicเปลี่ยนไป คือ มีทั้งส่วนที่ Passive และ ส่วนที่Active ของกิจกรรมของผู้อยู่อาศัย Common Area ที่เกิดขึ้นอาจจะไม่ได้ถูกเรียกว่าห้องนั่งเล่น ห้องทานข้าวแบบเมื่อก่อนอีกต่อไป แต่เป็น Sharing Space สำหรับการใช้งานที่แตกต่างกันของคนในบ้านซึ่งในส่วนของพัฒนาการของวัสดุตกแต่งในประเทศไทยในปัจจุบันและอนาคตเห็นว่า เป็นเรื่องที่ดีที่ผู้ผลิตส่วนใหญ่ คำนึงถึงผลกระทบในแง่ของสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนทางการก่อสร้างมากขึ้น”อาจารยกล่าวและเพิ่มเติมว่า 
“อย่างไรก็ดี นิสิตนักศึกษาปัจจุบัน ที่เป็นGen-Z 

ซึ่งสังเกตได้ว่าเป็นคนกลุ่มคนที่มองเรื่องอิสรภาพและทางเลือกในการใช้ชีวิตเป็นเรื่องสำคัญกว่าคนรุ่นก่อนมาก ประเด็นที่พวกเค้าสนใจในช่วงหลัง ๆ จะเป็นเรื่องของ Work-Life Balance ที่ไม่ได้เป็น Routine แบบเรา ๆ ซึ่งน่าสนใจ การเปิดโอกาสให้นิสิต นักศึกษา ได้เข้าเยี่ยมชมและเข้าถึงนวัตกรรมของวัสดุตกแต่งจากผู้ผลิตชั้นนำ จะทำให้เกิดการสร้างสรรค์งานออกแบบที่มีความหลากหลาย และเข้าถึงความต้องการของผู้บริโภคได้เพิ่มมากขึ้นด้วย”

“การจัดกิจกรรมการเปิดบ้านของ COTTO ต้อนรับสถาบันการศึกษาชั้นนำที่ให้ความสนใจพานิสิต นักศึกษาทยอยกันเข้ามาแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ เพื่อเชื่อมต่อแนวคิด ให้เข้าถึงนวัตกรรมการพัฒนาวัสดุตกแต่งอันนำสมัยทั้งคุณสมบัติที่ตอบสนองไลฟ์สไตล์ และความสวยงามที่ตอบสนองทุกสไตล์การตกแต่งได้อย่างลงตัวของบ้านในทศวรรษใหม่ พร้อมแลกเปลี่ยนมุมมองความคิดของบรรดานิสิต นักศึกษา ให้ก้าวทันความเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภคไปด้วยกัน ด้วยคอตโต้ให้ความสำคัญในการศึกษาพฤติกรรม ความต้องการของผู้ใช้งาน ให้สอดรับกับเทรนด์ผู้บริโภคเป็นหลักสำคัญ” นายปราปต์ พึ่งรัศมี Marketing Manager แบรนด์ COTTO กล่าวถึงการจัดกิจกรรมในครั้งนี้



และเพิ่มเติมว่า “ด้วยศักยภาพของแบรนด์ COTTO ในฐานะ Trendsetters ผู้นำวัสดุตกแต่งที่ตอบโจทย์ทุกความต้องการของผู้บริโภค และได้รับความเชื่อมั่นมาอย่างต่อเนื่อง การพัฒนานวัตกรรมใหม่ของวัสดุตกแต่งบ้าน ๆ ให้สอดรับกับบริบทความเปลี่ยนแปลง ภายใต้แนวคิดการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนคืนกลับให้สังคม การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ จึงไม่ได้มุ่งเน้นเพียงดีไซน์สวยงามเพียงอย่างเดียว หากยังเป็นการผสานเทคโนโลยีที่ตอบโจทย์ทุกฟังก์ชั่นการใช้งานของผู้บริโภค ส่งผลให้แบรนด์คอตโต้มีอัตลักษณ์ที่ชัดเจน 

ไม่ว่าจะเป็น HYGIENIC TILE กระเบื้องยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย, AIR ION กระเบื้องฟอกอากาศ ที่สามารถดักจับฝุ่น PM 2.5 หรือกระเบื้องในกลุ่ม ECO Collection ในกลุ่มเทรนด์สินค้าที่ดีต่อโลก รักษ์โลก สิ่งแวดล้อมและกลุ่มสุขภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ทุกกลุ่มเป้าหมาย ด้วยรูปลักษณ์ สีสัน ลวดลายของวัสดุ หรือฟังก์ชันที่น่าสนใจของสินค้าพร้อม เติมเต็มความหลากหลายทางเทคโนโลยีที่ให้ตอบโจทย์การใช้งานในวิถีชีวิตแนวใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการติดตั้งระบบเซ็นเซอร์ที่ลดการสัมผัส รวมถึงสามารถ flush ชำระล้างอัตโนมัติเมื่อกิจกรรมเสร็จสิ้น 

ซึ่งน่าจะช่วยให้นิสิต นักศึกษาที่เข้ามาเยี่ยมชม และพูดคุยแลกเปลี่ยนกับเจ้าหน้าที่ ที่รับผิดชอบ ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ของคอตโต้ ในครั้งนี้ จะได้รับข้อมูลข่าวสารของนวัตกรรมวัสดุใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ และสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างแท้จริง” 


ด้านนายณัฏฐ์ เจนสิราสุรัชต์ Technical Services Manager ผู้ดูแลโครงการหน่วยงานให้ความรู้แก่นิสิต นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า “ ความหมายของบ้าน ในยุคสมัยใหม่ มีความหลากหลาย มากกว่าแค่ที่พักอาศัยแน่นอนว่า เทรนด์ของงานออกแบบที่จะเกิดขึ้น จะต้องตอบโจทย์ในยุค New Normal ที่วิถีแนวใหม่มุ่งให้ความสำคัญต่อการใช้พื้นที่ แบบ Mix User หรือ Multifunctional Home ที่ตอบโจทย์ความต้องการของชีวิตอย่างรอบด้าน ความท้าทายในงานออกแบบยุคใหม่ จึงน่าจะเป็นผสมผสานวัสดุตกแต่ง ให้เข้ากับฟังก์ชั่นการใช้งาน



ซึ่งผู้ออกแบบสามารถเลือกใช้นำมาต่อยอด ปรับใช้หรือเพิ่มลูกเล่นให้กับสเปซและตัวอาคารได้ การเปิดเวทีให้นักออกแบบได้พบปะและเปลี่ยนกับผู้ผลิตวัสดุ ซึ่งนอกจากจะ ได้เข้าใจถึงนวัตกรรมวัสดุตกแต่ง ที่คอตโต้ได้พัฒนามาอย่างต่อเนื่องแล้ว ยังเป็นการช่วยพัฒนาให้นักออกแบบมีคลังความรู้ และเข้าถึงวัสดุที่ตอบโจทย์ ไลฟ์สไตลของผู้บริโภคแนวใหม่ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการสร้างสรรงานออกแบบ บ้านที่ดีที่สุดให้ลูกค้าด้วยเช่นเดียวกัน 


ทั้งนี้ผลิตภัณฑ์แบรนด์ COTTO ภายใต้ SCG Decor ให้ความสำคัญกับการพัฒนาวัสดุรูปแบบใหม่ ทั้งกระเบื้องเซรามิก และสุขภัณฑ์ ด้วยการผสานทิศทางของเทรนด์การใช้ชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปตามบริบทที่หลากหลาย โดยไม่ยึดติดกับมุมมองหรือรูปแบบเดิม ๆ เพื่อตอบสนองสถาปนิกผู้สร้างงานทุกเจนเนอเรชั่น โดยเฉพาะนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน ESG เพื่อส่งมอบโลกที่น่าอยู่ให้กับคนรุ่นต่อไป” นายณัฏฐ์กล่าวสรุป


 

 

สำหรับผู้ที่สนใจที่จะเข้าเยี่ยมชมแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารของวัสดุตกแต่งภายใต้แบรนด์ COTTO สามารถติดต่อมาได้ที่ COTTO Life Call Center 02-080-5665 E-Mail : admin.cottolife@scg.com หรือติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.cotto.com / Facebook YouTube Instagram Line official: cottoofficial และชมสินค้าได้ที่ COTTO Life ทั้ง 3 สาขา กรุงเทพ เชียงใหม่ ขอนแก่น