SACICT สร้างเครือข่ายให้กับงานศิลปหัตถกรรมไทยในกลุ่มภาคกลาง  จาก Local Craft Network สู่ Supply Chain

SACICT หรือ ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) จัดกิจกรรมสร้างเครือข่ายสมาชิก SACICT Craft Network และ Value Chain ในกลุ่มภาคกลาง เพื่อแนะนำและแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารงานศิลปหัตถกรรมไทยระหว่างครูศิลป์ฯ ครูช่างฯ ทายาทฯ และสมาชิก SACICT ตลอดจนสร้างโอกาสทางการค้าให้แก่ผู้ประกอบการงานศิลปหัตถกรรมไทย




นางอัมพวัน พิชาลัย ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ กล่าวว่า ในช่วงระหว่างปี 2560 – 2563 SACICT ได้วางแผนการทำงานเป็นเครือข่าย และให้ความสำคัญกับการสร้างเครือข่ายในแต่ละพื้นที่ และแต่ละภูมิภาคของสมาชิก SACICT มากยิ่งขึ้น หรือที่เราเรียกว่า Social Craft Network โดยสมาชิกฯ จะรวมตัวกัน  ในลักษณะของห่วงโซ่อุปทาน หรือ Supply Chain เริ่มตั้งแต่การเสริมองค์ความรู้งานหัตถศิลป์ การพัฒนาทักษะฝีมือ การใช้วัสดุ การออกแบบ การผลิต การตลาด และการจำหน่าย ช่วยให้สมาชิกฯ ในเครือข่ายได้รับผลประโยชน์เพิ่มขึ้น 

SACICT จึงได้เริ่มต้นจัดกิจกรรมการสร้างเครือข่าย และ Value Chain ครั้งที่ 1 ภาคกลาง ประจำปี 2561 ขึ้น ระหว่างวันที่ 25-26 มกราคม 2561 ณ ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่าง SACICT ครูศิลป์ของแผ่นดิน ครูช่างศิลปหัตถกรรม ทายาทช่างศิลปห้ตถกรรม และสมาชิก โดย SACICT ได้ดำเนินการรวบรวมข้อมูล และความต้องการในการทำธุรกิจงานหัตถกรรม เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการชี้นำทางและสร้างโอกาสในการทำธุรกิจ ให้แก่สมาชิกทุกคน 

อีกทั้ง ยังเป็นโอกาสอันดีที่ทาง SACICT จะได้สื่อสารถึง แนวทางและเป้าหมายการดำเนินงาน  Social Craft Network เพื่อการพัฒนางานหัตถกรรมไทย ภายใต้ยุทธศาสตร์ขององค์กรให้แก่สมาชิกและและพันธมิตรทางธุรกิจได้เข้าใจอีกด้วย





นอกจากนี้ SACICT ยังได้เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้พบปะแลกเปลี่ยนความคิดกับสมาชิกที่ร่วมกิจกรรมกับ SACICT ในปีที่ผ่านมา และรวมตัวสร้างเครือข่ายการทำธุรกิจหัตถกรรมจากพื้นฐานความรู้ที่ได้รับการอบรมจนประสบความสำเร็จในช่วง Social Craft Network และยังเปิดพื้นที่ให้นำเสนอผลงานเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการคัดเลือกสมาชิกเข้าร่วมกิจกรรมการจำหน่ายของ SACICT รวมทั้งหน่วยงานพันธมิตรที่กำลังสรรหาผลิตภัณฑ์หัตถกรรมไปจำหน่ายต่อไป

   

   

นางอัมพวันฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า SACICT มีความคาดหวังให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้เรียนรู้วิธีการทำงานร่วมกันเป็นเครือข่าย Social Craft Network ในการเข้าร่วมกิจกรรมกับ SACICT และหน่วยงานภายนอกต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ที่มองเห็นความสำคัญของงานศิลปหัตถกรรม ซึ่ง SACICT พร้อมจะเป็นศูนย์กลางในการเชื่อมโยงเครือข่าย โดยใช้การสื่อสารเรื่องราวและองค์ความรู้ผ่าน Digital Technology เพื่อชี้นำทิศทางและสร้างโอกาสทางธุรกิจงานศิลปหัตถกรรมไทย และสำหรับการจัดกิจกรรมในครั้งที่ 2 SACICT ได้วางแผนการลงพื้นที่ในภาคเหนือ ระหว่างวันที่ 8-9 มีนาคม 2561 ผู้สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เบอร์ 1289 ติดต่อฝ่ายสมาชิกสัมพันธ์ หรือ facebook.com/sacict , www.sacict.or.th