สถาปัตย์ มจพ. โชว์การออกแบบนวัตกรรมใหม่ ตอบโจทย์สิ่งแวดล้อมเน้นการใช้วัสดุที่กลับมาใช้ได้จริง

คณะสถาปัตยกรรมและการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) จัดแสดงผลงานศิลปนิพนธ์ของนักศึกษา พร้อมพิจารณารางวัลศิลปนิพนธ์ดีเด่นประจำปีการศึกษา 2560 ของ  ภาควิชาเทคโนโลยีศิลปอุตสาหกรรม ระหว่างวันที่ 31 กรฎาคม – 5 สิงหาคม 2561 ณ หอศิลปะวัฒนธรรม กรุงเทพมหานคร (ชั้น L)  

ผลงานที่จัดแสดงเพื่อเผยหลักสูตรศิลปนิพนธ์ สาขาวิชาออกแบบเซรามิกส์ และสาขาวิชาศิลปประยุกต์และการออกแบบผลิตภัณฑ์ และได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการสร้างศักยภาพของนักศึกษาให้ได้มีโอกาสทำผลงานศิลปนิพนธ์ เพื่อนำเสนอผลงานการออกแบบ และผลงานในลักษณะต่างๆ นำมาเผยแพร่สู่สังคม  








ซึ่งในปีการศึกษา 2560 จะมีนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายที่ศึกษาครบตามหลักสูตร และมีผลงานศิลปนิพนธ์ที่ผ่านการคัดกรองจากคณะกรรมการของสาขาวิชาและภาควิชาฯ  จำนวน 60 ผลงาน  เป็นผลงานที่แสดงให้เห็นถึงการนำความรู้และประสบการณ์ทางวิชาชีพจากอาจารย์ วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้มาถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ต่างๆไปประยุกต์กับการทำงานศิลปนิพนธ์ของนักศึกษาของคณะ ทำให้บ่งบอกถึงคุณลักษณะของนักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมและการออกแบบ ที่ปลูกฝังให้นักศึกษา “เชี่ยวชาญออกแบบ มุ่งสู่สากล”  โดยมีดร.ประภัสสร ประเทืองไทย ผู้รับผิดชอบโครงการแสดงผลงานศิลปนิพนธ์ของนักศึกษาภาควิชาเทคโนโลยีศิลปอุตสาหกรรม

ผลงานศิลปนิพนธ์ของนักศึกษาถือเป็นอีกงานทางคณะฯ นำมาจัดที่หอศิลป์กรุงเทพ ประกอบด้วยผลงานของนักศึกษา 2 สาขาวิชา คือสาขาวิชาออกแบบเซรามิกส์และสาขาวิชาศิลปประยุกต์และการออกแบบผลิตภัณฑ์ ของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ปีสุดท้าย 

เป็นผลงานที่แสดงออกถึงความรู้ ความสามารถและความคิดสร้างสรรค์ ผลงานศิลปนิพนธ์ของนักศึกษาจะค่อนข้างชัดเจนในเรื่องของการออกแบบนวัตกรรมใหม่  การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ การตอบโจทย์ในเรื่องสิ่งแวดล้อม  การใช้วัสดุที่สามารถกลับมาใช้ได้ ออกแบบโดยใช้ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) โดยเฉพาะอย่างยิ่งการออกแบบเพื่อตอบสนองการใช้งานและชุมชนมากขึ้น  และในแง่ของสิ่งที่เป็นการบริการในเรื่องของการเรียนรู้ในเรื่องการออกแบบผลิตภัณฑ์สำหรับมวลชนเพื่อสังคมและเพื่อชุมชน ทุกๆ ชิ้นเป็นนผลงานที่สร้างสรรค์ไอเดียได้ดีทุกชิ้น

ผลงานทั้งหมดของนักศึกษาเมื่อออกสาธารณชนชนและสู่สังคมสะท้อนให้เห็นว่า นักศึกษาคิดเกี่ยวกับเรื่องอะไร  เช่น สาขาเซรามิกส์ เน้นผลงานของผลิตภัณฑ์เพื่อการส่งออก เป้าหมายค่อนข้างชัดเจน

นอกจากดีไซน์แล้วคุณค่าของความคิด คุณค่าที่สามารถต่อยอดออกไปได้ เช่น บางชิ้นเป็นเรื่องของInnovation  เรื่องของนวัตกรรม เรื่องของวัสดุ นวัตกรรมในเรื่องการออกแบบ นวัตกรรมในเรื่องของการต่อยอดในเชิงพาณิชย์   มจพ. มุ่งมั่นที่จะพัฒนานักศึกษาโดยเฉพาะบัณฑิตที่จบไปให้เป็นผู้ประกอบการได้ อย่างน้อยเป็นนโยบานในเรื่องการตอบโจทย์ไทยแลนด์ 4.0 ได้เป็นอย่างดี