2 ผู้บริหาร “ฟอร์จูนทาวน์” ประกาศความพร้อมปรับแผนสู้วิกฤติ ชูกิจกรรมกระตุ้นตลาดตลอดปี

ในช่วงสภาวะวิกฤตอันเนื่องมาจากไวรัสโควิด – 19 จากครั้งแรกต่อมาในระลอกสอง ฉุดเศรษฐกิจทั้งบ้านเราและทั่วโลกอยู่ขณะนี้ ก่อให้เกิดการปรับตัวจากทั้งผู้ประกอบการเองและพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้บริโภค

เช่นเดียวกับ ศูนย์การค้าฟอร์จูนทาวน์ ที่เรากำลังจะพามาพูดคุยกับสองผู้บริหารศูนย์การค้าที่อยู่คู่กับคนไทยมานานย่านพระราม 9 ผ่านวิกฤตต่างๆ มาหลายต่อหลายครั้ง แต่ทุกครั้งด้วยประสบการณ์และการบริหารจัดการทำให้ ศูนย์การค้าแห่งนี้ยังคงเป็นหนึ่งในสถานประกอบการที่ยังคงได้รับความไว้วางใจและเป็นหนึ่งในใจของผู้บริโภคตลอดมา

คุณจักรพันธ์ ปิยะพฤกษพรรณ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโสบริหารอาคารและงานวิศวกรรมบูรณาการ และคุณชัยวัฒน์ เอมวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการบริหารงานอสังหาริมทรัพย์กองทุนรวม CPTGF  บริษัท ซี.พี.แลนด์ จำกัด (มหาชน) คือสองผู้บริหารศูนย์การค้าฟอร์จูนทาวน์ ที่เราจะคุยกันในเรื่องการบริหารจัดการและการรับมือกับสถานการณ์ในปัจจุบันและในอนาคต



วิกฤตฉุดเศรษฐกิจ 

ก่อนอื่น คุณจักรพันธ์ ปิยะพฤกษพรรณ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโสบริหารอาคารและงานวิศวกรรมบูรณาการ บริษัท ซี.พี.แลนด์ จำกัด (มหาชน) เล่าให้เราฟังถึงภาพรวมของศูนย์การค้าฟอร์จูนทาวน์ในปัจจุบันกัน โดยบอกว่า“อย่างที่เรารู้ภาวะวิกฤติครั้งนี้ยาวมาก กลายเป็นว่าปี 63 ปีที่แล้วฉุดเศรษฐกิจ แต่ก็ยังพอมีกำลังซื้ออยู่ เนื่องจากว่าคนยังมีงานทำ กิจการยังไม่ปิดตัว บางคนมีทุนรอนสะสม ปีที่แล้วคน panic ตื่นตกใจมากกว่า กำลังซื้อจึงหายไป แต่ก็ค่อยกลับมาในช่วงกลางปีถึงปลายปี แต่วิกฤตรอบสองถือเป็นวิกฤติอีกแบบ กำลังซื้อที่หายไปไม่ใช่ panic แล้ว คนเริ่มปรับตัวได้กับไวรัสโควิดนี้



แต่เงินหายไปจากกระเป๋าจริงๆ คนตกงานมากขึ้น หนี้สินครัวเรือนมากขึ้น เพราะฉะนั้นกำลังซื้อในระบบค้าปลีก เราเป็นมอลล์ ก็เป็นเรื่องของร้านค้าปลีกทั่วๆไป กำลังซื้อหายไปมาก หายไปในสัดส่วนที่เกิน 50% ในช่วงต้นปี 64 หนักเลย ในช่วงกุมภาพันธ์มาถึงวันนี้เริ่มปรับตัวดีขึ้น

ที่เขาคาดการณ์เศรษฐกิจจะโต 3.4 ผมคิดว่าถ้าจะโตได้ เราต้องกลับมาให้เร็วที่สุด ถ้าเกินกลางปีนี้ไปแล้วโอกาสที่จะโต 3.4 ไม่น่าจะเป็นไปได้ เพราะภาพรวมผู้ประกอบการไม่ไหวจริงๆ คนสายป่านยาวจึงจะอยู่ได้”

ปรับพื้นที่เพื่อธุรกิจที่เหมาะสม 

อย่างไรก็ตาม จากหลายต่อหลายกิจการที่ปิดตัวลง อีกทั้งการปรับตัวของเจ้าของธุรกิจที่เปลี่ยนเป็นระบบการขายออนไลน์มากขึ้น รวมถึงส่วนของสำนักงานที่หลายบริษัทส่วนใหญ่ยังไม่กลับมาทำงานออฟฟิศ ทำให้ส่งผลกระทบต่อการเช่าพื้นที่เช่นกัน



คุณ จักรพันธ์  กล่าวต่อว่า “ในส่วนของสำนักงาน ไม่ใช่เป็นค้าปลีกแต่เป็นหน่วยธุรกิจเช่นเดียวกัน ปัจจุบันกลายเป็นว่า เมื่อมีวิกฤติตรงนี้ขึ้นมาคนปรับตัว work from home คนยังไม่กลับมาทำงานออฟฟิศ ปล่อยออฟฟิศว่างๆ แนวโน้มอนาคตก็ลดการใช้พื้นที่ ก็กระทบกับเราเช่นกัน เราก็ต้องปรับตัว จะนำธุรกิจอะไรเข้ามา และมีการปรับพื้นที่แบบไหนให้เหมาะสมกับสภาพการใช้งานในอนาคต หลังโควิดนี้คิดว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงมาก

ผมเชื่อว่าคนไทยปรับตัวเก่ง อย่างไรต้องผ่านไปได้ วิกฤตินี้จะอยู่กับเราอีกนาน แต่มาพร้อมกับการปรับตัว อย่างไรก็แล้วแต่คิดว่าปลายปี 64 ไปจนถึงต้นปี 65 เราจะเห็นภาพที่ดีขึ้น"



การสร้าง Movement ในกิจกรรมต่างๆ ของศูนย์การค้าฟอร์จูนทาวน์ เป็นสิ่งหนึ่งที่ถือเป็นสีสันของการเรียกผู้เข้ามาใช้บริการ และประชาสัมพันธ์ศูนย์ฯ อย่างต่อเนื่อง

คุณจักรพันธ์ เน้นย้ำว่า ศูนย์ฯ ไม่ควรหยุดนิ่งไปกับวิกฤติ เพราะยิ่งตื่นตระหนกยิ่งทำให้ศูนย์ฯ เงียบ ในวิกฤติแบบนี้ไม่ควรนิ่งเงียบ เมื่อเงียบ ทราฟฟิคก็จะยิ่งไม่เกิด ยิ่งส่งผลกระทบต่อผู้ค้า การจัดกิจกรรมต่อเนื่องจึงเป็นสิ่งสำคัญ  สองคือ การปรับโซนนิ่งของพื้นที่ ซึ่งเป็นแผนระยะยาว ที่จะเห็นภาพของการเปลี่ยนแปลงไปอย่างแน่นอนในช่วงหลังโควิดนี้ ”

ทางด้าน  คุณชัยวัฒน์ เอมวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการบริหารงานอสังหาริมทรัพย์กองทุนรวม CPTGF  บริษัท ซี.พี.แลนด์ จำกัด (มหาชน) กล่าวเสริมว่า พฤติกรรมของผู้มาใช้บริการศูนย์การค้าเปลี่ยนไป ทุกคนจะพูดคำว่า New normal เราใช้คำว่า นิวนอร์ใหม่ ยกตัวอย่างที่คุณจักรพันธ์พูด เงินในกระเป๋าลดน้อยลง พฤติกรรมของผู้ใช้บริการศูนย์การค้าให้นึกภาพว่า ช่วงก่อนโควิดเศรษฐกิจถือว่าโอเคเวลาซื้อสินค้าไม่ค่อยคิด อยากได้อะไรซื้อทันที แต่เมื่อใดที่เงินในกระเป๋าลดน้อยลง ทำให้คิดมากขึ้น มีการเปรียบเทียบราคามากขึ้น



แต่สุดท้ายคนก็ยังมี 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่เงินในกระเป๋าลดน้อยลง พฤติกรรมส่วนใหญ่คือ off line เข้ามาที่ศูนย์การค้าโดยตรง ใช้ศูนย์การค้า ฯ เป็น community เพื่อการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับเพื่อนๆ ในการซื้อหรือใช้บริการของทุกสินค้าประมาณ 80%

กลุ่มที่สองอีก 20% คือกลุ่มที่มีกำลังซื้อ แม้เศรษฐกิจจะเปลี่ยนไป กลุ่มคนเหล่านี้เก็บเงินแต่ยังใช้จ่าย แต่พฤติกรรมในการใช้จ่ายเปลี่ยนไปจาก offline เป็น online แสดงว่า คนที่เคยใช้บริการศูนย์การค้าทุกแห่งจะลดลง

จะทำอย่างไรให้ลูกค้ากลุ่มเหล่านี้กลับมา หรือทำอย่างไรให้ผู้ประกอบการภายในศูนย์ฯ มีผลประกอบการใกล้เคียงกับเดิมที่สุด”

สร้างโปรโมชั่นและกิจกรรมส่งเสริม 

ผู้ประกอบการภายในศูนย์การค้าฟอร์จูนทาวน์ มี 3 กลุ่ม ได้แก่ อาหาร ไอทีและไลฟ์สไตล์ พฤติกรรมของทั้ง 3 กลุ่ม ซึ่งการสร้างโปรโมชั่นและการเปลี่ยนพฤติกรรมใหม่ ถือเป็นจุดสำคัญ 

การสร้างโปรโมชั่นและเปลี่ยนพฤติกรรมใหม่ เราพูดถึงผู้ประกอบการที่อยู่ในศูนย์กรค้าฟอร์จูนทาวน์ จะมีสามกลุ่ม อาหาร ไอที และไลฟ์สไตล์ พฤติกรรมทั้งสามกลุ่มนี้ วันนี้เปลี่ยนไปการขายแบบ online สามารถอยู่ใน offline ได้ด้วย



การขายแบบ online ไม่มีหน้าร้านอยู่ในศูนย์การค้า ความน่าเชื่อถือไม่มี ต้องยอมรับว่า online อย่างไรก็ไม่ 100 % ในเรื่องของการเปลี่ยนสินค้าหรือความเชื่อมั่น แต่ออฟไลน์คือการเห็นหน้าร้านมีการเปรียบเทียบราคา หากศึกษามาจากออนไลน์มาก่อน

พฤติกรรมเปลี่ยนแบบนี้ ถ้าเราแบ่งเป็น 2 segment คือ กลุ่มผู้ประกอบการรายใหญ่และกลุ่มผู้ประกอบการรายย่อย

กลุ่มผู้ประกอบการรายใหญ่ สามารถสร้าง community สร้าง website เพื่อรองรับธุรกิจตนเอง เพราะมีหลากหลายสาขาทั่วประเทศ สามารถใช้วิธีนี้ไปพร้อมกับขาย offline ไปด้วยได้

ส่วนกลุ่มรายย่อย ไม่มีกำลังพอที่จะทำแบบนี้ได้ จึงพึ่งพามาร์เก็ตเพลส เช่น Shopee Lazada”

 

Character ที่ชัดเจน 

ทางด้านการจัดวางคาแร็คเตอร์ของศูนย์การค้าฟอร์จูนทาวน์เองก็เป็นที่กล่าวถึงของผู้เข้ามาใช้บริการ คุณชัยวัฒน์ เล่าถึงคาแร็คเตอร์ของศูนย์การค้าฯ ว่า ศูนย์การค้าฟอร์จูนทาวน์ ถูกจัดวางคาแร็คเตอร์ที่ให้บริการตั้งแต่ Beginner จนถึง Professional ทุกคนที่พูดถึงศูนย์การค้าฟอร์จูนทาวน์ จะพูดว่าต้องมาที่นี่ เพราะจะพบกับ activity ต่างๆ ซึ่งเราเริ่มสร้างกันมาตั้งแต่ปี 2562 จนถึงยุคนี้

สิ่งที่เริ่มพบเห็นการเปลี่ยนแปลงคือ เกิด flagship store มากขึ้น เช่นร้านจำหน่ายเครื่องเสียงที่ชั้น 3 ของศูนย์ฯ ชื่อ Pro Plugin จำหน่ายสินค้าประเภทเครื่องเสียง ร้านอยู่ย่านลาดพร้าว แต่มาเช่าพื้นที่เปิดที่นี่ 1 ห้อง ปัจจุบันเพิ่มขึ้นเป็น 6 ห้อง แต่เขาไม่ใช่การขายอย่างเดียว แต่ยังทำเป็นศูนย์การเรียนรู้เรื่องเครื่องเสียง มีการสอนโดยดีเจ  มีการค้าปลีกและค้าส่ง มีการทำกิจกรรมในและต่างประเทศ

เรื่องของศูนย์บริการ สามารถตอบโจทย์ลูกค้าได้ตลอดมา การเซอร์วิสที่ดีที่สุด นี่คือ Caracter ที่เกิดขึ้นของฟอร์จูนาวน์

ขณะเดียวกันก็ตอบโจทย์สองข้อเรื่องของจุดขาย ที่เราต้องสู้กับโควิดให้ได้ อีกด้านหนึ่งเราต้องอยู่กับเขาให้ได้ มีผลสำรวจมาว่า ถ้าไม่มีกิจกรรม ไม่ทำโปรโมชั่นก็จะตายไปพร้อมเขาพร้อมกระแส แต่สิ่งที่ฟอร์จูนทาวน์อยู่ได้ในทุกวิกฤติไม่ว่าจะเป็นปี 40 หรือทุกวันนี้เราได้รับคำชมว่าเป็นผู้นำในด้านของการเปลี่ยนแปลงมาโดยตลอด วันนี้เป็นโจทย์ที่ยาก แต่เราทำได้ อยากให้ติดตามว่าในไตรมาสต่อๆไป จะทำอะไรบ้าง ซึ่งเราไม่ได้เก่งเฉพาะตัวเราเอง สำคัญที่สุดคือพาร์ทเนอร์ ผู้ประกอบการที่อยู่กับเรา” คุณชัยวัฒน์กล่าว  

สู้วิกฤติด้วย Activity โดนๆ 

ในยุคที่ต้องปรับกลยุทธรองรับทั้ง online และ offline ทางผู้บริหารฟอร์จูนทาวน์ เตรียมวางแผนในระยะยาว โดย 1. เปิดพื้นที่เพื่อให้ทำ live streaming สำหรับทั้งผู้ประกอบการ youtuber นักศึกษา สามารถเข้ามาใช้บริการสื่อสาร ค้าขายออนไลน์ได้ โดยกำลังอยู่ในระหว่างประสานกับทางผู้ประกอบการไอทีภายในศูนย์ฯ ซึ่งมีสินค้าทุกรูปแบบ อุปกรณ์ไลฟ์สด เครือข่ายทรู เป็นต้น สามารถเปิดให้บริการได้ในราวเดือนเมษายนเป็นต้นไป
  1. กิจกรรมส่งเสริมการขาย 
- กิจกรรมที่ทำต่อเนื่องจากการเปิด Application : fortunetown ปัจจุบันมีสมาชิกราว 5,000 คน APP เพื่อติดตามข้อมูลข่าวสารความเคลื่อนไหว โปรโมชั่น และการพบปะสังสรรค์กัน รวมถึงการสะสมพอยท์เพื่อการแลกของ อาทิ การทำ lucky door ลดแลกแจกแถม หมอน กระเป๋า พาวเวอร์แบงค์ รวมทั้ง การช้อปสินค้าในศูนย์ฯ ครบ 500.- แลกรับคูปองจอดรถฟรี 4 ชั่วโมง สามารถยื่นได้ที่เคาน์เตอร์รับได้ทันที หรือซื้อของเสร็จถ่ายรูปส่งบิลมายัง Contact Point เพื่อรับแต้มแบบ Auto



-การจัดกิจกรรม ที่ชั้น 10 หรือชั้นดาดฟ้าของศูนย์ฯ Fortunetown Sky Park บนพื้นที่ 9,000 ตารางเมตร





คุณชัยวัฒน์ เล่าถึงความเป็นมาของกิจกรรมบนชั้นดาดฟ้าให้ฟังว่า เป็นความร่วมมือกับบริษัท โจน 500 ซึ่งเป็นบริษัทของคนรุ่นใหม่ 3 คนที่เคยเข้ามาจัดคอนเสิร์ตบนชั้นดาดฟ้าหลายครั้ง แต่หยุดไปช่วงโควิด ซึ่งหลังจากนั้นเขาเช็คกระแสต่างชาติทั้งในยุโรปและเอเชียพบว่า มีกลุ่มรักสเก็ตที่อยากออกมาทำกิจกรรม อยากมารวมตัวกัน เมื่อรวมตัวกันได้ราว 500 คน แต่ก็ยังไม่มีที่ที่เหมาะสำหรับการเล่นกิจกรรมนี้ จึงเกิดไอเดียว่า ทำไมในประเทศเราจึงไม่มีสถานที่ที่ใหญ่จริงๆ และเหมาะกับการทำกิจกรรมนี้





ลานเสก็ตมีเยอะแต่สถานที่ที่ไหน ที่มีความเป็นส่วนตัว มีวิวทิวทัศน์ดี การบริการที่ดีครบครัน อุปกรณ์ครบครัน มีความปลอดภัย สำคัญคือมีความสุข มีวิว สามารถไลฟ์สดกันได้ พบปะกันได้ มาที่สกาย ปาร์ค ฟอร์จูนทาวน์

ปัจจุบันได้เริ่มต้นทดลองเปิดให้น้อง ๆ เข้ามาใช้บริการแล้ว โดยเตรียมสถานที่เอาไว้ให้ จะเปิดเป็นทางการในวันที่ 4 มีนาคม ศกนี้”

Fortune town Sky Park แบ่งพื้นที่เป็น 3 โซน สามารถรองรับผู้ใช้บริการได้ ราว 500-1,000 คน สำหรับกิจกรรม ลู่วิ่ง ขี่จักรยาน เล่นบาสเกตบอลหรือฟุตซอล และลานสเก็ตบอร์ด สามารถเข้ามาใช้บริการได้ฟรี



ในส่วนของลานสเก็ตบอร์ด มีบอร์ด 3 ประเภท บอร์ดเซิร์ฟ เน้นท่าทางดีไซน์ แบบสเก็ตสตรีท แบบผาดโผน และลองบอร์ด แบบสวยงาม ซึ่งสามประเภทนี้จะมีทั้งการแข่งขันและการละเล่นกัน





นอกจากจะมีพื้นที่สำหรับการละเล่นกิจกรรมต่างๆ ยังมีพื้นที่จำหน่ายเครื่องดื่ม และอุปกรณ์การเล่นกีฬา วันที่ 4 มีนาคม 2564 นี้จะมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ”



“ตลาดนัดปล่อยของ” แคมเปญ สู้วิกฤต 

และสำหรับกิจกรรมที่ดูจะเป็นที่ถูกอกถูกใจของเหล่ามนุษย์เงินเดือนและคนที่ต้องหยุดทุกอย่างกับสถานการณ์โควิดในเวลา เห็นจะเป็นเรื่องของการปล่อยของเป็นแน่

ผู้บริหาร ฟอร์จูนทาวน์ เล่าถึงแคมเปญนี้ว่า “ จากสถานการณ์การระบาดโควิด บริษัทต้องหยุดงานหรือไม่ได้ทำงาน การลดเงินเดือน บางธุรกิจจำเป็นต้องปิดตัวเองไป จึงคิดแคมเปญทำอย่างไรให้คนมีเงินในกระเป๋ามากขึ้น



จึงจัดแคมเปญ ตลาดนัดปล่อยของ เริ่ม 24 กุมภาพันธ์ ทุกวัน พ. พฤหัส ศุกร์ ทดลองก่อนเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมีนาคม ใครก็ได้ที่ต้องการมาแลกเปลี่ยน ขายสินค้า เน้นว่าต้องไม่เป็นสิ่งผิดกฎหมาย และขอยกเว้นคือไม่เป็นอาหารและเครื่องดื่ม

โดยเป็นพื้นที่เปล่าด้านหน้าศูนย์การค้า ฯ สามารถรองรับได้ 70 บูธ จัดให้จำหน่ายได้ตั้งแต่เวลา 16.00 น. – 21.00 น. คิดค่าพื้นที่ 100 บาท / วัน

โดยเปิดให้ผู้สนใจเข้าไปจองสิทธิ์ก่อนทางออนไลน์ โดยลงทะเบียนใน Page Facebook : FortuneTown จองในวันจันทร์ และจับฉลาก มีการไลฟ์สดให้เห็นเพื่อความโปร่งใส จะรู้เลยว่าบูธของตัวเองอยู่ตรงไหน สามารถขายได้ทุกอย่างไม่จำกัด”

.... โควิดทำให้โลกเราเปลี่ยนแปลงไปอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม... อยู่ที่ว่าเราจะใช้ชีวิตให้อยู่กับผลกระทบครั้งนี้ได้อย่างไร .... บีทริปนิวส์ขอเป็นกำลังใจให้ทุกคน สู้ไปด้วยกัน