“เคน” เจ้าสัวน้อยวัย 16 ปั้นไอศกรีมออแกนิก “Ken Homemade Gelato” ชูตาลโตนดและเมล่อน ต่อยอดช่วยชุมชน

คณิน สิริมนตาภรณ์ หรือเคน หนุ่มน้อยวัย 16 ปี ปัจจุบันศึกษาอยู่ที่ The Webb School, Claremont, California, USA. (เกรด 11) จากเด็กคนหนึ่งที่เป็นเจ้าสัวน้อยประสบความสำเร็จในการก่อตั้งแบรนด์ไอศกรีมของตัวเอง “Ken Homemade Gelato”ตั้งแต่วัยเพียง 11ขวบ ด้วยความชอบที่ไม่หยุดยั้ง เขาต่อยอด และพัฒนาผลิตภัณฑ์ของเขาไปเรื่อยๆ ในวันนี้เขาได้เติบโตขึ้น จึงได้นำความรู้ และประสบการณ์นี้กลับมาพัฒนาชุมชนที่ต้องการความช่วยเหลือ

เคน สานต่อโครงการของรัฐบาล มหาวิทยาลัยสู่ตำบลเพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ หรือโครงการยกระดับเศรษฐกิจ และสังคมรายตำบล ซึ่งเป็นโครงการที่รัฐส่งมหาวิทยาลัยไปพัฒนาตำบลเพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิตในชุมชน เพื่มรายได้และทำให้เกิดการจ้างงาน หนึ่งในตำบลที่เข้าร่วมโครงการคือ ตำบล ห้วยกรดพัฒนา จังหวัดชัยนาท



 

ซึ่งผลผลิตทางการเกษตรหลักที่ทำรายได้คือตาลโตนด ตาลโตนดที่ปลูกในจังหวัดชัยนาทสามารถนำมาทำเป็นน้ำตาลออแกนิกที่ให้ความหวานหอมมาก แต่ชาวบ้านนำน้ำตาลโตนดมาทำเป็นน้ำตาลปี๊บเท่านั้น ซึ่งขายได้ในราคาถูก เคนมีความสนใจในวัตถุดิบนี้มาก จึงริเริ่มความคิดที่จะนำน้ำตาลโตนดมาพัฒนาเป็นไอศกรีมต่อ ผศ.ดร สันติ ชัยศรีสวัสดิ์สุข (TSI Tambon System Integrator) หรือหัวหน้าโครงการ U2T (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล) ซึ่งผศ.ดร.สันติ ได้แต่งตั้งให้เคนเป็นผู้ช่วยโครงการและที่ปรึกษาด้านพัฒนาผลิตภัณฑ์



เคนได้มีส่วนร่วมพัฒนาโครงการตั้งแต่การคัดเลือกนิสิต นักศึกษาและชาวบ้านผู้เข้าร่วมโครงการ จัดทำแบบเรียนนำความรู้เรื่องไอศกรีมไปสอนชาวบ้าน ลงพื้นที่ไปสอนชาวบ้านโดยให้ความรู้และสาธิตการปฎิบัติตลอดจนมอบสูตรเฉพาะที่เคนคิดค้นขึ้นเองในการนำตาลโตนดมาทำเป็นไอศกรีมออแกนิกรสชาติต่างๆที่ใช้วัตถุดิบในท้องถิ่น เช่น กะทิตาลโตนด กาแฟตาลโตนดเป็นต้น และเมื่อได้ลงพื้นที่



อีกปัญหาหนึ่งที่พบที่จังหวัดชัยนาทคือการสูญเสียอาหาร (Food Loss)ซึ่งเป็นการสูญเสียในขั้นตอนการเพาะปลูก การผลิต เก็บเกี่ยว และขนส่ง ชุมชนบ้านหัวเด่นในจังหวัดชัยนาท เป็นตำบลที่ปลูกเมล่อนได้เป็นจำนวนมาก เป็นเมล่อนที่มีรสหวาน ฉ่ำ สามารถส่งไปขายได้ราคาสูง แต่ไม่ถูกเก็บไปจำหน่ายเนื่องจากขนาด รูปลักษณ์ไม่สวยงาม ไม่ได้มาตรฐาน ทำให้ผลิตผลเหล่านี้ถูกทิ้งเป็นจำนวนมาก

เคนได้ให้ความรู้แก่ชาวบ้านในการแปรรูปผลผลิตเหล่านี้มาทำเป็นไอศกรีมเมล่อนเขียว และเมล่อนส้ม ซึ่งนอกจากเพิ่มมูลค่า สร้างอาชีพใหม่ๆและนำไปสู่การจ้างงานแล้ว ยังเปลี่ยนผลไม้ที่จะถูกทิ้งและเน่าเสียไปตามกาลเวลาให้เก็บได้นาน