จังหวัดนนทบุรี ประชุมคณะกรรมการบริหารศูนย์อำนวยการปฏิบัติการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

วันนี้ 13 มกราคม 2565 เวลา 10.00 น. ณ ห้องประชุมงามวงศ์วาน ศาลากลางจังหวัดนนทบุรี นายสุจินต์ ไชยชุมศักดิ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรีมอบหมายให้ นายอภิชัย อร่ามศรี รองผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารศูนย์อำนวยการปฏิบัติการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จังหวัดนนทบุรี (คจพ.จ.) โดยมี นางรักใจ กาญจนะวีระ พัฒนาการจังหวัดนนทบุรี ในฐานะเลขานุการร่วมฯ พร้อมด้วย นางสาวริตยา รอดนิ่ม ผู้อำนวยการกลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชน หัวหน้าส่วนราชการในฐานะเลขานุการร่วม ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง และผู้แทนหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชนในฐานะคณะกรรมการบริหารศูนย์อำนวยการปฏิบัติการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จังหวัดนนทบุรี (คจพ.จ.) เข้าร่วมประชุมในรูปแบบ Hybrid Meeting เพื่อให้เป็นไปตามมาตรการรักษาระยะห่างในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(COVID-19)


การประชุมในวันนี้ เพื่อให้ความเห็นชอบข้อมูลบุคคล หรือครัวเรือนเป้าหมายที่ผ่านการรับรองจากคณะกรรมการบริหารศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงระดับอำเภอ (คจพ.อ.) โดยจังหวัดนนทบุรี มีครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องได้รับความช่วยเหลือภายหลังจากการตรวจสอบข้อมูลซ้ำจาก TPMAP ปี 2562 คงเหลือจำนวน 999 ครัวเรือน 1,985 คน



โดยหลังจากนี้ จังหวัดนนทบุรีจะมีการจัดตั้งทีมพี่เลี้ยง จากทีมข้าราชการในพื้นที่ ผู้นำชุมชน อาสาสมัครในชุมชน เป็นต้นเพื่อติดตาม ตรวจสอบ ดูแล และนำข้อมูลของแต่ละครัวเรือนมาจัดทำเป็นแผนครัวเรือน จัดหมวดหมู่ความสำคัญ นำไปเข้าร่วมเวทีการจัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้าน และแผนพัฒนาตำบล เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาในระดับพื้นที่ให้มีความยั่งยืน



 

โดยการดำเนินงานขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นกลไกเชิงนโยบายในการดำเนินการแก้ไขปัญหาความยากจน ลดความเหลื่อมล้ำ และการพัฒนาคนทุกช่วงวัย เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาและการพัฒนาที่เกี่ยวข้องอย่างบูรณาการเป็นรูปธรรมและยั่งยืนได้ในทุกพื้นที่ สำหรับดัชนีความยากจน สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้กำหนดมิติความยากจนไว้ 5 มิติ ได้แก่ ด้านการศึกษา ด้านสุขภาพ ด้านความเป็นอยู่ ด้านการเข้าถึงบริการภาครัฐ และด้านรายได้ โดยจังหวัดนนทบุรี